ค่า pH ดินปลูกทุเรียน คือค่าดินที่เจ้าของสวนทุเรียนต้องเอาใจใส่เป็นลำดับต้น ๆ เพราะ “ค่า pH ในดิน” หรือกรดด่างมีผลกระทบต่อธาตุอาหาร ทั้งธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองที่ทุเรียนจำเป็นต้องใช้ นอกจากนี้ ค่า pH ดินปลูกทุเรียน ที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนยืนต้นตายจากโรครากเน่าโคนเน่า และขาดน้ำอีกด้วย
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 4 นาที
Quick Navigation
"การตรวจหา ค่า pH ในดิน ปลูกทุเรียนเป็นประจำจะช่วยให้เจ้าของสวนปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับความต้องการของต้นทุเรียน อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้อีกทางหนึ่ง
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
1. ค่า pH ดินปลูกทุเรียน
“ค่า pH ในดิน” ที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียนควรอยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 pH ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นทุเรียนจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบและให้ผลผลิตแต่ละธาตุในปริมาณที่เหมาะสม
ข้อมูลเสริม: ตารางค่า pH สำหรับพืชอื่น
ผลกระทบของค่า pH
- กรณีดินมีค่า pH ต่ำมาก ฟอสฟอรัส (P) ถูกตรึงเอาไว้ ทำให้พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ส่วน Micronutrients หรือจุลธาตุธาตุซึ่งเป็นกลุ่มพืชจำเป็นต้องใช้ แต่ใช้ไม่มาก ธาตุเหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) รวมทั้งทองแดง (Cu) และสังกะสี (Zn) จะละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช
- กรณีดินมีค่า pH สูง เช่น pH 8.5 ฟอสฟอรัสถูกตรึงไว้เนื่องจากเกิดตกตะกอนกับแคลเซียมที่ละลายออกมามากจนเกินไป นอกจากฟอสฟอรัสที่เป็นปัญหา ดินที่เป็นด่างยังทำให้พืชขาดธาตุเหล็ก (Fe) และแมงกานีส (Mn) อีกด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม: ค่า pH ของดิน : สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่คนทำเกษตรต้องรู้หากไม่อยากขาดทุน
กรณีศึกษา
เคส # 1 : น้ำท่วมใหญ่ ดินกลายเป็นกรด ทุเรียนนนท์เสียหายหลายร้อยไร่
ในปี 2554 หลายพื้นที่จังหวัดนนทบุรีประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ค่า pH ดินลดต่ำลงไปอยู่ในช่วง 4.5-5.0 ซึ่งจัดอยู่ในระดับ "กรดจัดมาก (Very Strongly Acid)" ไปจนถึง "กรดรุนแรงมาก (Extremely Acid)" ทำให้ต้นทุเรียนขาดอาหารตาย (ความเป็นกรดของดินล็อคธาตุอาหารเอาไว้ ทุเรียนดูดไปใช้ได้ไม่เป็นเต็มที่) เป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
เคส # 2 : ทุเรียนสวน จ. ตราดยืนต้นตาย 300 ต้น รากเน่าอีก 400 ต้น หลังพบดินมีค่าความเป็นกรดสูง
ปี 2560 สวนทุเรียนของ "คุณพิเชษฐ์ มูลชอบ" ซึ่งอยู่ที่ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราดประสบปัญหาทุเรียนยืนต้นตายร่วม 300 ต้น และทุเรียนที่ปลูกเริ่มเป็นโรคอีก 400 ต้น ภายหลังตรวจพบ ค่า pH ดินปลูกทุเรียน มีความเป็นกรดสูง 4.0-5.0
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Add to cartQuick View
จำหน่าย ต้นทองหลางน้ำ ของแท้
จำหน่าย ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีระบบรากที่แข็งแรง และทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เหมาะสำหรับเป็นพืชพี่เลี้ยงของต้นทุเรียน ผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งไม้เศรษฐกิจต่าง ๆ ... สนใจคลิกที่รูปได้เลยค่ะ
ข้อมูลเสริม: ระดับความรุนแรงของ pH
2. ปัญหาเมื่อ ค่า pH ดินปลูกทุเรียน ต่ำกว่า 5.5
เมื่อไรก็ตามที่ “ค่า pH ในดิน” ในสวนทุเรียนต่ำกว่าระดับ 5.5 pH ลงมา กิจกรรมของแบคทีเรียและแอกติโนไมซีสต์ (Actinomycetes) จะลดลงมากขณะที่เชื้อราซึ่งเป็นอันตรายต่อต้นทุเรียนยังสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ และเข้าสู่รากและลำต้น กระจายไปยังท่อน้ำเลี้ยง และส่วนต่าง ๆ ของต้นทุเรียน ทำให้ทุเรียนเกิดปัญหารากเน่าและยืนต้นตายได้
3. ระดับ pH ของน้ำที่ใช้ในสวนทุเรียน
ค่า pH ของน้ำเป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อค่า pH ของดินปลูกทุเรียนได้ ค่า pH น้ำที่ใช้ในสวนทุเรียนควรอยู่ในช่วง 6.0 – 6.5 pH (หรือไม่เกิน 7.0 pH) นอกจากนี้แล้ว ค่า pH น้ำในช่วง 6.0 – 6.5 pH ยังเป็นระดับที่เหมาะสมกับการผสมสารสารกำจัดศัตรูพืช และ สารกำจัดโรคพืช ทำให้สารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ออกฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชได้เต็มที่ หากเจ้าของสวนทุเรียนนำน้ำที่เป็นด่างมากเกินไป (ตั้งแต่ 8 pH ขึ้นไป) มาใช้ผสม อาจจะส่งผลทำให้สารด้อยประสิทธิภาพลงและเสื่อมสภาพได้ง่ายอีกด้วย
สำหรับสวนทุเรียนอยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำทะเลหนุนบ่อย ๆ (เช่น นนทบุรี) และนำน้ำจากแม่น้ำมาใช้ ค่า pH ของน้ำอาจมีความเป็นด่างสูง (มีค่าเกลือสูง) การนำน้ำที่มีค่าเกลือสูงมาใช้รดต้นทุเรียน ต้นทุเรียนจะขาดน้ำ และเกิดอาการใบร่วงได้
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
ดังนั้นนอกจากต้องวัด “ค่า pH ดินปลูกทุเรียน” แล้ว คนทำสวนทุเรียนจำเป็นต้องวัดค่า pH ของน้ำควบคู่อย่างสม่ำเสมอด้วย
4. ค่า pH ดินปลูกทุเรียนและค่าความเค็ม
ดิน หรือน้ำที่มีค่าเกลือสูง ๆ มักมีค่า pH เป็นด่าง แต่ก็ไม่จริงเสมอไป ดินเค็มในบางพื้นที่ เช่น ชายทะเล อาจมีค่าเป็นกรดได้ เนื่องจากมีกำมะถันสูง
ด้วยเหตุนี้ คนทำสวนทุเรียน โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำทะเลหนุน หรือน้ำท่วมบ่อย ๆ ควรวัดค่าความเค็มของน้ำเพิ่มเติมด้วย สำหรับค่าความเค็มของน้ำที่ใช้ในสวนทุเรียนควรอยู่ที่
- ค่าความเค็มของน้ำปลูกทุเรียน : ไม่ควรเกิน 0.20 ppt หรือ 200 ppm (ปราณี, 2533)
-
เครื่องวัดความเค็มน้ำ Salinity Tester Hanna HI 98319ใช้เวลาอ่านประมาณ: 1 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
5. ความชื้นในดินต่อระดับ pH
อุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการวัดค่า pH ดินมีหลายรูปแบบ
แต่สำหรับเครื่องที่วัดด้วยการวิธีหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า Electrical Pontential เช่น เครื่องวัดค่า pH และความชื้นดิน TAKEMURA DM-15 ดินจำเป็นต้องมีความชื้นเป็นสื่อ หากดินแห้ง หรือมีความชื้นต่ำมากจนเกินไป ค่าที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อน
ดังนั้น หากดินในสวนทุเรียนแห้ง ควรรดน้ำให้ชุ่ม และทิ้งไว้ประมาณ 25 – 30 นาทีก่อนทำการวัดค่า (ดินควรมีความชื้นในระดับ 60 – 70%)
6. วิธีวัดค่า pH ของดินปลูกทุเรียน
ในการวัดแต่ละครั้งอาจได้ค่า pH ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความชื้น การสัมผัสระหว่างดินและหัววัด ความหนักเบาในการกดเครื่องวัดลงในดิน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นควรวัดประมาณ 5 – 6 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย
7. pH ดินในระดับความลึกดินที่แตกต่าง
ในการวัดค่า pH ดินที่ถูกต้องควรวัดทั้งหน้าดิน และลึกลงไปประมาณ 15 -20 ซม. (ใช้การขุด) อย่างไรก็ดี โดยปกติแล้ว ค่า pH ของหน้าดินจะสูงกว่าดินที่ลึกลงไป 1 ค่า (โดยประมาณ) เช่น หน้าดินวัดได้ 6.5 pH ลึกลงไปจะอยู่ที่ประมาณ 5.5 pH
8. การเปลี่ยนแปลง ค่า pH ดินปลูกทุเรียน
ค่า pH ดินปลูกทุเรียน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (เช่น ฝนตก น้ำท่วม น้ำทะเลหนุน และอื่น ๆ) และจากปัจจัยด้านเกษตร (เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้น้ำหมัก การคลุมดิน และอื่น ๆ) ดังนั้นคนทำทุเรียนควรวัดค่า pH ดินและน้ำ รวมทั้งค่า EC ด้วยเครื่องมือวัดค่าดินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็น Indicator ในการปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
นอกจากนี้ควรนำดินส่งตรวจห้องปฏิบัติการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งก่อนลงมือปลูกเพื่อให้ได้ค่าที่ละเอียดและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
9. การวัดค่า pH ดินหลังการการปรับปรุงดิน
เมื่อทำการปรับปรุงดินด้วยสารต่าง ๆ เช่น ปูน ผงกำมะถัน หรือน้ำหมัก (ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ค่า pH ของแต่ละสวน) ยังไม่ควรวัดค่า pH ดินทันที ปล่อยให้สารดังกล่าวละลายให้เป็นเนื้อเดียวกับดินเสียก่อนแล้วค่อยทำการวัด (อย่างน้อย 3 – 4 สัปดาห์)
เอกสารอ้างอิง:
ปราณี จิตกรณ์กิจศิลป์, 2533, ศักยภาพการผลิตและการส่งออกทุเรียน, ว. พัฒนบริหารศาสตร์ 30 (2): 111-123
หมายเหตุ: เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอ และอื่น ๆ ในบทความนี้และในเว็บไซต์ทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ “บริษัท ไอฟาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ห้ามลอกเลียน ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางใดทางหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ
-
-5%Out of stockRead moreQuick View
-
-4%Add to cartQuick View
-
-5%Add to cartQuick View