ค่า pH น้ำปลูกทุเรียน รวมทั้งค่าความเค็ม หรือค่าเกลือ และค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity, EC) มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อผลผลิตของทุเรียนอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นนอกจากการวัดค่า pH ดิน เจ้าของสวนทุเรียนต้องวัด “ค่า pH น้ำปลูกทุเรียน” และค่าน้ำอื่น ๆ ที่ใช้ในสวนทุเรียนควบคู่ไปด้วย
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 4 นาที
Quick Navigation
มีสมาชิก IFARM ที่เป็นเจ้าของสวนทุเรียนสอบถามเรื่อง “ค่า pH น้ำปลูกทุเรียน” เข้ามากันหลายท่าน ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ตอบเลย สมาชิกท่านอื่นจะได้อ่านด้วย และไหน ๆ จะเขียนแล้ว ขออนุญาตพ่วงค่า EC และค่าเค็มของน้ำสำหรับใช้ในสวนทุเรียนไปพร้อมกันเลย
1. ค่า pH น้ำปลูกทุเรียน
ท่านที่ซื้อเครื่องวัดค่า pH ดินจาก “ไอฟาร์ม” และได้รับ “สรุปเกี่ยวกับกรดด่างดิน” ในรูปแบบ Infographic แจกฟรีน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าค่า pH ของดินปลูกทุเรียนควรอยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 pH
แต่สำหรับค่า pH น้ำปลูกทุเรียน หลายท่านอาจยังไม่ทราบ ใกล้เคียงกันครับ ควรอยู่ในช่วง 6.0-6.5 เป็นกรดอ่อน ๆ ถ้าจะสูงกว่านี้ ให้เต็มที่ไม่เกิน 7.0 pH
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
1.1 ทำไมค่า pH น้ำทุเรียนไม่ควรเป็นด่าง ?
ทุเรียนต้องการ pH อยู่ที่ 5.5 - 6.5 pH (กรดอ่อน ๆ) หากเราใช้น้ำที่มีค่า pH สูง ๆ (ด่าง) ไปรดต้นทุเรียน นานวันเข้า pH ของดิน มีโอกาสปรับสูงขึ้นด้วย ไม่เป็นผลดีกับต้นทุเรียนครับ
หาก pH น้ำสูง (ด่าง) มีโอกาสที่ค่าความเค็ม หรือค่าเกลือ (Salinity) จะสูงตามไปด้วย บอกเลยว่าทุเรียนไม่ชอบทั้งดินและน้ำที่ค่าความเค็มสูง ๆ ครับ
ค่า pH น้ำที่ 6.0-6.5 pH เป็นระดับที่เหมาะสมกับการผสมสารกำจัดศัตรูพืช และ สารกำจัดโรคพืชครับ จะช่วยทำให้สารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากน้ำเป็นด่างมากเกินไป (ตั้งแต่ 8 pH ขึ้นไป) อาจจะส่งผลทำให้สารด้อยประสิทธิภาพและเสื่อมสภาพลงได้ครับ
เครื่องมือที่เจ้าของสวนทุเรียน "มือโปร" เลือกใช้
พิเศษซื้อเครื่องวัดค่า pH ดิน แบรนด์ TAKEMURA รุ่น DM-15 ของแท้จากญี่ปุ่น (ระวังของลอกเลียนแบบ) พร้อมเครื่องวัด pH น้ำ Hanna รุ่น 98107 อย่างละ 1 เครื่อง รับส่วนลดทันทีถึง 290.00 [km + ส่ง EMS ฟรี + Infographic สรุปเกี่ยวกับกรดด่างดินฟรี ... สินค้ามีจำกัด
1.2 ควรวัดค่า pH น้ำปลูกทุเรียนเป็นประจำไหม ?
แนะนำให้วัดค่าเป็นประจำครับ เหตุผลเพราะค่า pH น้ำอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทั้งเป็นกรด หรือด่างมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ช่วงน้ำทะเลหนุน น้ำกร่อยทำให้ดินและน้ำในสวนของท่านเจอด่างเล่นงานแน่ถ้าเตรียมการป้องกันไม่ดี หรือหากน้ำท่วมขังนาน ๆ โอกาสที่ดินหรือแหล่งน้ำของเราจะเปลี่ยนเป็นกรดจัดก็มีสูงครับ เรื่องนี้ชาวสวนทุเรียน จ. นนทบุรี จันทบุรี และอีกหลายจังหวัดน่าจะรู้ซึ้งดีกว่าใคร
บางครั้งปัญหากรดด่างก็อาจเกิดจากฝีมือของเราเองก็ได้ เช่น ดินมีปัญหากรดรุนแรง (ต่ำกว่า 5.5 pH) เราอาจจะแก้ปัญหาด้วยการเติมปูนชนิดต่าง ๆ ที่คุณสมบัติเป็นด่างสูง แต่จัดการไม่ดี ฝนกระหน่ำลงมา ก็ชะปูนลงไปในแหล่งน้ำ ทำให้น้ำในสวนกลายเป็นด่าง หรืออีกกรณีหนึ่งที่พบบ่อย คือใช้น้ำหมักรดประจำและเป็นระยะเวลายาวนาน มีความเสี่ยงที่ดินอาจมีปัญหาเป็นกรดได้เหมือนกัน เพราะน้ำหมักมีค่าความเป็นกรดค่อนข้างสูงครับ
1.3 เครื่องมือวัดค่า pH น้ำรุ่นไหนดี ?
สมาชิกหลายท่านถามว่าควรใช้รุ่นไหนดี แนะนำว่าควรใช้ของดีหน่อยครับ เลือกรุ่นที่มีมาตรฐาน สามารถสอบเทียบได้ (Calibrate) ค่าเบี่ยงเบนต่ำ มีการรับประกัน และมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาการใช้งานได้ ของพวกนี้ต้องลงทุน เขียมไม่ได้เด็ดขาดครับ
-
เครื่องวัดค่า pH น้ำ Digital GroLine Hanna รุ่น HI 98118ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View -
เครื่องวัดค่า pH น้ำ HANNA รุ่น HI 98107 สอบเทียบอัตโนมัติใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
2. ค่าความเค็มน้ำที่ใช้ปลูกทุเรียน
น้ำที่ใช้ในสวนทุเรียน ควรมีค่าความเค็มอยู่ที่ 0.20 ppt (200 ppm) ระวังอย่าให้สูงกว่านี้เด็ดขาด ทุเรียนอาจมีอาการใบร่วง ใบไหม้และตายเอาได้ง่าย ๆ เลยครับ
2.1 ผลกระทบของค่าความเค็มต่อต้นทุเรียน
ถ้าน้ำที่ใช้ในสวนทุเรียนมีค่าเกลือสูง ผลกระทบหนักหนาสาหัสเอาเรื่องครับ สรุปมาให้ 3 – 4 ข้อครับ
* ค่า pH ของดินจะสูงขึ้น
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาศึกษาผลของสภาวะความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินและการร่วงของใบทุเรียนพันธุ์ก้านยาว (เสียบยอด ขนาด 90-100 ซม.) ของจังหวัดนนทบุรี โดยการรดน้ำที่มีค่าเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCI) ที่ความเข้มข้น 0.2, 0.5, 1.0 และ 2.0 ppt เปรียบเทียบกับน้ำที่ไม่ได้เติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ ที่มีค่าความเค็มอยู่ที่ประมาณ 0.07 ppt (รดทุก 2 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์) ผลการทดลองพบว่าน้ำทั้ง 5 ตัวอย่างส่งผลให้ค่า pH ดินปรับสูงขึ้นทั้งหมด (อยู่ระหว่าง 7.00 – 7.17 pH ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทุเรียน ทุเรียนนำธาตุอาหารไปใช้ได้ไม่เต็มที่)
* ค่า EC ของดินจะสูงขึ้น
ค่า EC หรือ Electrical Conductivity คือ ค่าการนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ดูค่าความเค็มของดิน หรือของน้ำ
ปกติค่า EC ที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียนควรอยู่ที่ 0.52 – 0.65 dS/m
อ้างอิงจากงานวิจัยข้างต้นอีกครั้งครับ เขาสรุปไว้ชัดเจนว่าการใช้น้ำที่มี NaCI ทั้ง 4 ระดับความเข้มข้น และน้ำที่ใช้ปกติในสวน (รวมเป็น 5) มีผลทำให้ค่า EC สูงขึ้นทั้งหมด โดยเฉพาะที่ความเข้มข้น 1.0 และ 2.0 ppt
-
เครื่องวัดค่า EC ในดิน โดยตรง GroLine Hanna HI 98331ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
* ต้นทุเรียนมีอาการขาดน้ำ
ปกติพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารตามหลัก “ออสโมซิส (osmosis)”
อธิบายเรื่อง “ออสโมซิส” ง่าย ๆ แบบนี้ครับ
“ออสโมซิส” คือการเคลื่อนที่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมาก (ความเข้มข้นน้อย) เข้าสู่บริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า (ความเข้มข้นสูงกว่า) ซึ่งในภาวะปกติ “ในราก” ของต้นไม้จะมีน้ำน้อยกว่า “นอกราก ” หรือ “ในดิน” น้ำจึงเคลื่อนที่เข้าไปในรากต้นไม้
แต่ถ้าเมื่อไร น้ำที่เราใช้รดทุเรียนมีค่าเกลือ หรือค่าความเค็ม (Salinity) สูง น้ำส่วน “นอกราก” ซึ่งมีความเข้มข้นมากกว่าน้ำ “ในราก” น้ำในดินจะเข้าสู่รากไม่ได้ แถมน้ำในรากยังจะไหลออกมาข้างนอก การเจริญเติบโตของรากฝอยลดลง สุดท้ายทุเรียนจะตายเพราะขาดน้ำและขาดอาหารนั่นเองครับ
พอเห็นภาพนะครับ
* ต้นทุเรียนมีอาการใบร่วง
งานวิจัยชิ้นเดิม สรุปไว้ว่าความเค็มของน้ำ > 0.20 ppt (รดทุเรียนพันธุ์ก้านยาวเสียบยอด ขนาด 90-100 ซม. ทุก ๆ 2 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์) ส่งผลให้เกิดสภาวะการสะสมโซเดียมในดินจนกระทั่งเป็นพิษกับทุเรียน และการเกิดการตกตะกอนของแคลเซียมและแมกนีเซียมในดินทำให้ต้นทุเรียนอ่อนแอและเกิดความบกพร่องของระบบท่อน้ำเลี้ยง ส่งผลให้ทุเรียนเกิดอาการใบร่วง
ยิ่งไปกว่านั้นครับ
หากน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียนมีความเค็ม 1.0 ppt ขึ้นไปจะทำให้ทุเรียนใบไหม้และใบร่วงอย่างรวดเร็ว
2.2 ความสัมพันธ์ของ pH และค่าความเค็ม
โดยปกติน้ำที่ค่าเกลือ หรือค่าความเค็มสูง ค่า pH ก็จะสูงตาม หลายท่านเลยสงสัยว่าถ้าอย่างนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องวัดค่าเกลือ ใช้เครื่องวัดค่า pH น้ำวัดแทนเลยได้ไหม
ขอตอบเป็น 2 ประเด็นครับ
- ความเค็มสูง ค่า pH ไม่จำเป็นต้องเป็นด่างเสมอไป อาจมีค่าเป็นกรดก็ได้
- ค่า pH ไม่สามารถบอกระดับของค่าความเค็มที่แน่นอนและชัดเจนได้
ดังนั้น เราควรใช้เครื่องวัดค่าความเค็มของน้ำ (Salinity Tester) โดยตรงไปเลยจะได้ค่าที่แม่นยำกว่า ตัดสินใจง่ายกว่า
-
เครื่องวัดความเค็มน้ำ Salinity Tester Hanna HI 98319ใช้เวลาอ่านประมาณ: 1 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
2.3 วิธีการแก้ไขปัญหาค่าความเค็มน้ำปลูกทุเรียน
- วัดค่าความเค็มของน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะสวนทุเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำทะเลหนุน และใช้น้ำจากแม่น้ำ หรือแหล่งธรรมชาตินอกสวน
- สำรองน้ำให้พอเพียงไว้ล่วงหน้า
- สร้างแนวป้องกัน / คันดินไม่ให้น้ำเค็มเข้าร่องสวน
- ลอกเลนตามร่องสวนออก เพื่อเพิ่มพื้นที่การเก็บกักน้ำและดึงน้ำจากดินชั้นล่างให้ไหลออกมา
- ดูแลตัดแต่งกิ่งที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดการคายน้ำของต้นทุเรียน
- ใช้วัสดุคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน เช่น หญ้า ตอต้นกล้วย
- จัดหาแหล่งน้ำสำรอง เพื่อเก็บน้ำจืดจากแม่น้ำหรือกักเก็บน้ำธรรมชาติ หรือขุดบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ (กรณีนี้ต้องวัดค่าน้ำจากแหล่งที่เอามาใช้ด้วยเช่นกัน)
- กรณีน้ำเค็มเข้าสวนแล้วให้รีบระบายน้ำเค็มออกจากแปลงปลูกให้หมดโดยเร็ว แล้วจัดหาน้ำจืดมาให้แก่ต้นทุเรียน
สำหรับสวนทุเรียนที่อยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำทะเลหนุน ต้องวางแผนป้องกันล่วงหน้า ต้องมีแผนสำรอง เพราะปัจจุบันน้ำทะเลหนุนเกิดบ่อย และยาวนานกว่าในอดีต ที่สำคัญมักมาก่อนการคาดการณ์เสมอ
อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาดครับ
เอกสารอ้างอิง:
Effect of Salinity Stress on Chaning of Soil Properties and Falling Leaves of Durian cv. Kan Yao
หมายเหตุ: เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอ และอื่น ๆ ในบทความนี้และในเว็บไซต์ทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ “บริษัท ไอฟาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ห้ามลอกเลียน ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางใดทางหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View
-
-5%Add to cartQuick View