การดูแลความชื้นในอากาศอย่างเหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ทุเรียนติดผลได้ดีและเพิ่มคุณภาพของผลผลิต การควบคุมระดับความชื้นไม่เพียงแต่ช่วยให้กระบวนการผสมเกสรเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ยังช่วยพัฒนาการเติบโตของผลทุเรียนให้มีขนาดและคุณภาพที่ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยลดการสูญเสียผลผลิตจากการร่วงของผลทุเรียนในช่วงที่ความชื้นต่ำ ควบคุมความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุเรียนของคุณก็จะให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพที่ดีขึ้นในทุกฤดูกาล
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 5 นาที
Quick Navigation
การจะปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น นอกจากต้องดูแลเรื่องดิน น้ำ และการให้ปุ๋ยอย่างเต็มกำลังแล้ว ยังจำเป็นต้องดูแลสภาพแวดล้อมด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่เจ้าของสวนทุเรียนทุกคนต้องใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ ต้องมี ” ความชื้นในอากาศ” รวมอยู่ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย
ความชื้นในอากาศ หรือความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทุเรียนในทุกระยะ รวมทั้งการให้ผลผลิตแม้เราจะดูแลดิน น้ำ และการให้ปุ๋ยดีมากแค่ไหนก็ตามครับ
บทความนี้ IFARM จึงอยากจะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของความชื้นในอากาศต่อต้นทุเรียนใน 2-3 ประเด็นหลัก ก่อนจะปิดท้ายด้วยแนวทางในการป้องกัน และ Success Case
ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มที่ผลกระทบกันก่อนเลยครับ
ทำลายกระบวนการผสมเกสร
ขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ทุเรียนติดผลก็คือ “การผสมเกสร” ในขั้นตอนนี้ทุเรียนต้องการสภาพอากาศที่เหมาะสมมาก ๆ โดยเฉพาะเรื่อง “ความชื้นในอากาศ“ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อให้การเคลื่อนย้ายของ “ละอองเกสร” และ “การจับตัวของละอองเกสรกับเกสรตัวเมีย” เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครับ
หากเมื่อไรความชื้นในอากาศต่ำกว่า 60% ละอองเกสรมีโอกาสจะแห้งได้ง่าย ผลที่ตามมาคือการจับกับเกสรตัวเมียจะเกิดได้ยากขึ้นครับ กระบวนการผสมเกสรจะไม่สมบูรณ์ ในประเด็นนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สภาพอากาศที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างต่ำส่งผลให้ปริมาณทุเรียนที่ติดผลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บ้านเราประสบปัญหาร้อนและแล้งหนักขึ้นทุกปี ผลผลิตของทุเรียนของหลาย ๆ สวนหล่นฮวบแบบน่าตกใจ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำไม่พอ ทุเรียนยืนต้นตายต่อหน้าต่อตาเจ้าของสวนเป็นไร่ ๆ อย่าว่าแต่ไม่ติดดอกเลยครับ
การพัฒนาของผลทุเรียน
ใครที่แฟนพันธุ์แท้ทุเรียนจะสังเกตเห็นว่าปีนี้ทุเรียนที่วางขายในหลาย ๆ แหล่งมีขนาดเล็กมาก ปัญหาก็มาจากความชื้นในอากาศเช่นเดียวกันครับ ความชื้นต่ำไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการผสมเกสรเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผลทุเรียนอีกด้วย ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรระบุไว้ว่าในพื้นที่ที่มีความชื้นในอากาศน้อยกว่า 40-50% ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ มักเกิดปัญหาผลทุเรียนเจริญเติบโตได้เต็มที่ ลูกจะเล็กและลีบ
เจอแบบนี้เข้าไป เจ้าของสวนได้แต่นอนก่ายหน้าผากครับ เพราะน้ำหนักทุเรียนหาย เงินก็หายด้วย
การคายน้ำและระบบราก
ประเด็นใหญ่อีกประเด็นที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ นั่นก็คือ “ผลกระทบของความชื้นในอากาศต่อการคายน้ำของทุเรียน” ครับ
ต้องอธิบายแบบนี้ก่อนว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีจุด Optimal ของมันครับ น้อยเกินไป ก็ไม่ดี มากเกินไป ก็เกิดผลเสียได้ ขอใช้เรื่องการเพาะเห็ดขยายเรื่อง Optimal Point ให้ฟังครับ อย่างที่หลายคนทราบดีว่าดอกเห็ดมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากถึง 70-85% (ขึ้นอยู่ที่ชนิดของเห็ด) ลองคิดตามนะครับว่าอะไรจะเกิดขึ้นครับถ้าปริมาณไอน้ำภายนอกดอกเห็ด หรืออีกนัยหนึ่งคือความชื้นในอากาศภายในโรงเรือนต่ำกว่าปริมาณน้ำที่อยู่ในดอกเห็ด ? …. ถูกต้องครับ เห็ดจะคายน้ำออกมา กลไการคายน้ำจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่ที่ Gap ความแตกต่าง ผลที่ตามมาคือดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักหาย ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ เห็ดก็จะเหี่ยวแห้ง และตายในที่สุด ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักในการให้น้ำ (ผมไม่ชอบใช้คำว่า “รดน้ำ”) ก็เพื่อให้น้ำในอากาศชนกับน้ำในดอกเห็ดนั่นเองครับ ถ้าพอดีกัน ดอกก็สวย น้ำหนักดี ต่ำกว่าหรือสูงกว่า ปัญหาอาจตามมาได้
เช่นกันครับ Optimal ของทุเรียน ความชื้นอากาศควรอยู่ราว ๆ 55-65% ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปจากจุดนี้ต่างก็สร้างปัญหาให้กลไกการคายน้ำของทุเรียนได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน … ยิ่งห่างมาก ระดับของปัญหาก็ยิ่งเข้มข้นครับ
กลไกการคายน้ำของต้นทุเรียน (และพืชโดยทั่วไป) คือกระบวนการที่ทุเรียนปล่อยไอน้ำออกจากใบผ่านปากใบ (stomata) เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายใน และรักษาสมดุลของน้ำในต้นพืช กระบวนการนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของพืชในหลายด้าน เช่น การดูดซึมน้ำและสารอาหารจากดิน การระบายความร้อน และการรักษาสมดุลของเซลล์พืช ถ้าคายมาก (ความชื้นในอากาศต่ำ) ปัญหาก็เรื่องหนึ่ง ถ้าดันคายน้อย หรือไม่คายเลย (ความชื้นในอากาศสูง) ปัญหาก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง … คนละอาการ ต้องกินยากันคนละชุด จะเปรียบเทียบอย่างนี้ก็ได้ครับ
ความชื้นในอากาศน้อย
ในช่วงที่อากาศร้อนและแล้ง ความชื้นในอากาศจะลดต่ำลงกว่าปกติมาก ส่งผลให้ต้นทุเรียนคายน้ำในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอุณหภูมิและการทำงานอื่น ๆ ของทุเรียน รากก็ต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อหาน้ำมาชดเชยส่วนที่คายออกไปให้ทัน หากหาไม่ทัน จะเกิดภาวะขาดน้ำตามมา อย่าลืมนะครับว่าช่วงร้อนแล้ง ดินก็สูญเสียความชื้นออกไปปรูดปราดไม่แพ้กัน ถ้าสวนของใครรักษาความชื้นหน้าดินไม่ได้ และไม่มีแผนการสำรองน้ำและการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพ เจอแน่ครับ … ใบเหลือง เหี่ยวแห้ง ยืนต้นตาย
ปัญหาน้ำไม่พอใช้ว่าหนักแล้ว แต่ก็ยังหนักไม่เท่ากับสารที่ละลายอยู่ในน้ำครับ โดยปกติน้ำจะมีสารนานาชนิดละลายปนอยู่ในน้ำ อะไรจะเกิดขึ้นครับ ถ้าปริมาณสารละลายยังอยู่เท่าเดิม แต่ปริมาณน้ำลดลง ความเข้มข้นของสารละลายนั้น ๆ จะเพิ่มขึ้นอัตโนมัติถูกไหมครับ ? ถามต่อครับ แล้วปัญหาอะไรจะตามมากับทุเรียนหากสารละลายที่ว่านั้นดันเป็น "เกลือโซเดียม" ครับ ? รากทุเรียนดูดน้ำไม่ได้ ใบก็เอาแต่คายน้ำ ... โอกาส เจ็บ + จน + เจ๊ง สูง
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
ปัญหาน้ำไม่พอใช้ว่าหนักแล้ว แต่ก็ยังหนักไม่เท่ากับสิ่งที่ละลายอยู่ในน้ำครับ โดยปกติน้ำจะมีสารนานาชนิดละลายปนอยู่ อะไรจะเกิดขึ้นครับ ถ้าปริมาณสารละลายยังอยู่เท่าเดิมแต่ปริมาณน้ำกลับลดลง ความเข้มข้นของสารละลายนั้น ๆ จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติถูกไหมครับ ? ถามต่อครับ แล้วปัญหาอะไรจะตามมากับทุเรียนหากสารละลายที่ว่านั้นดันเป็น “เกลือโซเดียม“ ครับ ? รากทุเรียนดูดน้ำไม่ได้ ใบก็เอาแต่คายน้ำ … โอกาส “เจ็บ + จน + เจ๊ง” สูง
เรื่องนี้อย่าล้อเล่นนะครับ ร้อนแล้งที่ผ่านมากูรูทุเรียนท่านหนึ่งเจอปัญหาค่าเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำพุ่งจนแทบไม่ได้ผลผลิตเลย
ความชื้นในอากาศสูง
ตรงกันข้ามครับ เมื่อความชื้นสัมพัทธ์สูง การคายน้ำของทุเรียนจะลดลง หรือไม่คายเลย อย่างที่ทราบกันว่าการคายน้ำเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นการดูดซึมน้ำจากราก เมื่อการคายน้ำลดลง การดูดซึมน้ำและสารอาหารจากดินก็จะลดลง และการสังเคราะห์แสงก็ทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ผลลัพธ์คือ ผลทุเรียนมีรสชาติไม่เข้มข้น น้ำหนักน้อย และคุณภาพต่ำ
ไม่กี่วันที่ผ่านมาผมมีโอกาสแวะไปเยี่ยม “พี่ปู คุณชคดี นนทสวัสดิ์ศรี” เจ้าของสวนทุเรียน “คุณแผ่นดิน” ซึ่งเป็นสวนทุเรียนนนท์แบบดั้งเดิม แกยังบ่นเรื่องนี้ให้ฟังเลยครับ เจอฝนหนัก ๆ ติดต่อกัน 3-4 วันก็ไปไม่เป็นเหมือนกันครับ ตอนนี้แกก็เลยทดลองอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง (ด้านเทคโนโลยี) เพื่อหาวิธีเอาชนะปัญหานี้อยู่ครับ
แนวทางการป้องกัน
ทราบถึงผลกระทบไปแล้วนะครับ ตอนนี้มาดูแนวทางในการป้องกันกันบ้างครับ
1. เตรียมน้ำและระบบน้ำให้พร้อม
อย่าชะล่าใจครับ เตรียมน้ำสำรองให้พอครับ คาดการณ์ในทางแย่ ๆ ไว้ปลอดภัยกว่าครับ ร้อนแล้งหนักข้อขึ้นทุกปีแน่ ๆ …. จะขุดบ่อเพิ่ม จะเจาะบาดาลเพิ่ม ต้องรีบทำในวันที่ยังมีโอกาสทำครับ อย่าปล่อยปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ … Too Late ครับ …. เสร็จแล้วก็วางระบบการให้น้ำทั้งภาคพื้นดิน และภาคอากาศให้ดีครับ
2. ความชื้นหน้าดิน
ความชื้นหน้าดินสำคัญที่สุด โดยเฉพาะกับระบบรากของทุเรียน วางแนวทางในการรักษาความชื้นหน้าดินให้ได้มากที่สุด แต่เลือกให้ดี ๆ อย่าให้การแก้ปัญหาเรื่องหนึ่งไปสร้างปัญหาใหม่ตามมา ต้องไม่ลืมว่าโรค ราและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อทุเรียนก็มากับความชื้นได้เหมือนกัน ที่สำคัญเลยต้องวิเคราะห์ดูให้ถ้วนถี่ด้วยว่าคุ้มกับเม็ดเงินและแรงที่ลงไปไหม
3. วัดความชื้นและอุณหภูมิ
หมั่นวัดอย่างสม่ำเสมอครับ โดยเฉพาะช่วงร้อนและแล้ง สุ่มวัดทุกจุด รอบต้น ใต้ต้น วัดให้หมดครับ ผมแนะนำให้ใช้เครื่องวัดแบบพกพาได้ตามรูปด้านล่าง (ซ้ายมือ) ใช้งานสะดวกครับ เดินถือไปได้ทั่วสวน ถ้าใช้แบบแขวน แขวนไว้ตรงไหน ก็วัดได้แค่จุดนั้นครับ มันไม่ Represent ค่าทั้งสวนนะครับ และอย่าเขียมครับ ลงทุนหาเครื่องที่คุณภาพไว้ใจได้หน่อยนะครับ ผมเคยเห็นเจ้าของสวนบางคนเอามาโชว์ขึ้น Facebook ว่าอุณหภูมิในสวนทุเรียนของเขาแตะ 60 °C ….. บ้าไปแล้ว
ใครมีกำลังหน่อย ก็จัดหนักแบบขวามือไปเลยครับ …. Smart Farmer !!
Advertising Area | พื้นที่ประชาสัมพันธ์
เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น รุ่นที่เจ้าของสวนมืออาชีพนิยมใช้ สนใจติดต่อ
สถานีวัดอากาศ ฝุ่น และคาร์บอนอัจฉริยะ สนใจติดต่อ
4. วัดความเค็มของดิน – น้ำ
คนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเรื่องความเค็มของดินของน้ำ อย่าประมาท ยิ่งช่วงร้อนแล้ง ยิ่งต้องวัดค่าบ่อย ๆ จับตาทุกระยะ เก็บเป็น Record ของสวนไว้เลยครับ ย้ำอีกครั้งครับ น้ำน้อย เกลือที่ละลายอยู่ในน้ำจะเข้มข้นโดยอัตโนมัติ อันตรายจะตามมาแบบไม่ทันตั้งตัว คอยดูอย่าให้เกิน 0.2 ppt ทุเรียนเป็นพืชที่ sensitive กับความเค็มเอามาก ๆ ครับ ถ้าเกินลิมิต รากจะดูดน้ำไม่ขึ้นครับ
สมาชิก IFARM ท่านใดสนใจศึกษาเรื่องค่าความเค็มดิน และค่าความเค็มน้ำเพิ่มเติม คลิกอ่าน 2 บทความด้านล่างได้เลยนะครับ
5. โมเดลผสมผสาน และใช้พืชพี่เลี้ยง
ในภาวะที่สภาพแวดล้อมทั่วโลกมีแต่ความแปรปรวน ส่วนตัวผมคิดว่าการทำเกษตรแบบผสมผสาน เป็นทางเลือกและทางรอดที่ดีในระยะยาว ถ้าทำได้ ผลกระทบจากสภาวะร้อนแล้งจะหายไปพอสมควรเลยครับ แน่นอนมันไม่มีอะไรที่ดีที่สุด ทุกอย่างล้วนมีข้อดี – ข้อด้อย การทำเชิงเดี่ยว มันทำปริมาณได้มากกว่าผสมผสาน แถม Automate ได้ง่ายกว่า แต่โมเดลแบบผสมผสานก็ได้ “คุณค่า” มาชดเชย ถ้าทำถึง
อย่างสวนทุเรียน “คุณแผ่นดิน” ของ “พี่ปู คุณชคดี นนทสวัสดิ์ศรี” ที่ผมกล่าวถึงก่อนหน้านี้ก็ปลูกแบบผสมผสาน ขายทุเรียนลูกละเป็น 5 หลักขึ้น แถมยังเลือกคนซื้อได้อีกด้วย มีเงินแต่ไม่เห็นคุณค่า ก็อดกินนะครับ
ผมไม่ตัดสินว่าแบบไหนดีกว่ากันนะครับ ทุกคนมี “จริต” และ “Business Model“ ไม่เหมือนกัน เลือกที่โดนใจเราที่สุดครับ
แต่ถ้าชอบแนวทางผสมผสาน ผมอยากแนะนำเพิ่มเติมว่าให้ปลูกต้นทองหลางน้ำ เป็นพืชพี่เลี้ยง (Nurse Plants) ครับ
ต้นทองหลางน้ำ (Erythrina fusca) เป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยตรึงไนโตรเจนในดิน แต่เป็นถั่วยืนต้น โตเต็มที่น่าจะสูงถึง 15-20 เมตร สำหรับผมนี่คือพืชมหัศจรรย์ครับ เขามีประโยชน์ทั้งต้น และมีประโยชน์ทั้งตอนมีชีวิตและตอนไม่มีชีวิต
ระบบรากสุดยอดครับ ดูดน้ำเก่ง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี ใช้ป้องกันแนวตลิ่งได้ ที่สำคัญมีการสื่อสาร (ผ่านราก) หรือ Plant Communication ไปยังพืชหลัก เช่น ทุเรียน ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของไรโซเบียมที่ช่วยตรึงไนโตเจนจากอากาศได้
ลำต้นก็เก็บความชื้นได้ครับ ถ้าปลูกใกล้น้ำลำต้นเขาจะนิ่มกว่าต้นที่ปลูกที่ดอน (เวลาตาย เอาไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน) กิ่งก้านใบมีประโยชน์หมดครับ นอกจากจะให้ร่มเงาแล้ว ใบยังเต็มไปด้วยธาตุอาหารและอินทรียวัตถุ ที่สำคัญตอนร่วงหล่น มีประโยชน์เป็น pH Buffer และช่วยเก็บรักษาความชื้นที่หน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ไม่ต้องเสียเวลาขนเอาอะไรมาสุมใต้ต้นให้เหนื่อยแรงเปล่า ๆ ครับ
บางแห่งก็ปลูกต้นทองหลางน้ำเป็นแนวกันลม หรือ Wind Break
ในต่างประเทศก็นิยมปลูกกันหลายประเทศครับ ที่เคยเห็นก็ปลูกเป็นพืชพี่เลี้ยงในสวนกาแฟ สวนโกโก้ ไร่ข้าวโพด และอื่น ๆ อีกมากมายครับ ลองหางานวิจัยอ่านกันได้ครับ
สำหรับคนที่อยากจะปลูก ผมแนะนำให้ปลูกสายพันธุ์ก้านแดง และมีหนามนะครับ ต้นทองหลางน้ำมีหลายพันธุ์ครับ ก้านเขียวก็มี ก้านแดงแต่ไม่มีหนามก็มี สาเหตุที่แนะนำให้ปลูกต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดงและมีหนาม เป็นเพราะใบของมันเอามาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ (Prebiotic) สำหรับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้ดีที่สุด
เล่าแบบนี้ก่อน คนที่คิดค้นการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ คือ “อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์” ท่านได้ทำการทดลองและทดสอบทั้งในห้องแล็ปและแปลงจริงหลายครั้งจนมีข้อสรุปว่า “สายพันธ์ก้านแดง มีหนาม” ดีที่สุดครับ มัน proven ทางวิทยาศาสตร์มาเรียบร้อยแล้วครับ
ดังนั้นไหน ๆ จะปลูกทั้งทีก็เลือกพันธุ์ที่มีผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ประจักษ์ไปปลูกซะทีเดียวไปเลยครับ
ขอเล่าต่ออีกนิดครับ ตัวจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ ชื่อทางการว่า Rhodobactor Capsulatus
ตัวนี้เป็นคนละตัวกับที่ได้จากการเลี้ยงด้วยไข่ กะปิ น้ำปลา หรือผงชูรสเหมือนสูตรทั่วไปนะครับ สีแดงเหมือนกันแต่เชื้อคนละตัว ประโยชน์ก็ต่างกันครับ ฉะนั้นเวลาไปซื้อหัวเชื้อมาขยายต่อ จะดูจากสีอย่างเดียวไม่ได้ครับ ต้องหาแหล่งที่ไว้ใจได้ เช่น IFARM ครับ (ฮ่าาาาา)
เจ้า Rhodobactor Capsulatus มีประโยชน์หลายอย่างครับ หลัก ๆ คือ
1. ช่วยเร่งการแตกรากของพืช ระบบรากดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ เห็นด้วยไหมครับ ?
2. ทำให้พืชมีความกรอบและอร่อย ข้อนี้ อ. วิโรจน์ ก็พิสูจน์ทางวิทยาศาตร์เช่นกัน ไม่ได้ใช้ความรู้สึกวัดนะครับ
3. ทำให้พืชทนต่อความเค็มได้เพิ่มมากขึ้น ต่อจิ๊กซอได้ไหมครับ ร้อนแล้ง ถ้าเค็มเพิ่ม มีตัวช่วยชั้นยอดแล้ว
4. รักษาโรคเน่าโคนเน่าได้ คนทำสวนทุเรียนน่าจะเจอปัญหานี้กันไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูง ๆ หรือค่า pH ดินต่ำมาก
พาออกมาไกลเลย จากความชื้นในอากาศ ลากมาถึงต้นทองหลางน้ำและจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แต่อยากจะบอกเป็นครั้งที่ร้อยว่า “ต้นทองหลางน้ำ” คือต้นไม้มหัศจรรย์จริง ๆ ครับ โดยเฉพาะสายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม (ใบก็กินได้ด้วยนะครับ) เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ และความชื้นในดินแล้ว ยังมีธาตุอาหารและอินทรียวัตถุสูง และที่สำคัญช่วยตรึงไนโตเจนได้ดี
ขออนุญาตขายของนิดครับ ใครสนใจเรื่องต้นทองหลางน้ำ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ นอกจากจะซื้อต้นกล้าและหัวเชื้อได้ที่ IFARM แล้ว เรายังมีคลิปงาน “Meet & Seed” รวมพลังสร้างคุณค่าทองหลางน้ำ ครั้งที่ 1 ให้เรียนรู้กันด้วยครับ ค่าเรียนแพงมากครับ ขอบอก … 299.- / ท่าน …. ฮ่า …. เรียนได้ตลอด ไม่มีหมดอายุครับ เข้าดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ครับ
Advertising Area | พื้นที่ประชาสัมพันธ์
จำหน่ายต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม สนใจติดต่อ
จำหน่ายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ สนใจติดต่อ
กรณีศึกษา: การปลูกต้นทองหลางน้ำเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียน
“นายชัดเจน ราชคฤห์” เจ้าของสวนทุเรียน “นายชัดเจน” ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้เลือกใช้ ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม เป็นพืชพี่เลี้ยงในสวนทุเรียนเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินและอากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่มีความชื้นต่ำมาก ต้นทองหลางน้ำไม่เพียงช่วยป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดินเท่านั้น แต่ยังช่วยลดผลกระทบจากแสงแดดที่แรงและอุณหภูมิที่สูง ทำให้ “สวนนายชัดเจน” สามารถต่อสู้กับสภาพอากาศที่ร้อนแล้งในปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่สวนอื่น ๆ ที่ไม่มีการจัดการความชื้นที่ดีพอ กลับประสบปัญหาทุเรียนไม่ติดลูก “สวนนายชัดเจน” กลับสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้สวนทุเรียนของเขาโดดเด่นท่ามกลางความท้าทายทางสภาพอากาศ
ตัวอย่างที่ : การปลูกต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม ร่วมกับทุเรียนและผลไม้อื่น ๆ ของสวนนายชัดเจน อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา
สรุป
เชื่อแน่ว่าตอนนี้สมาชิก IFARM ทุกท่านเห็นถึงความสำคัญและผลกระทบของความชื้นในอากาศ หรือความชื้นสัมพัทธ์ต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของทุเรียน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพกันทุกคนแล้ว
ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง เพราะสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ภาวะร้อน แล้ง แห้งจะหนักขึ้นทุกปี ถ้าไม่เตรียมการรับมือแต่เนิ่น ๆ มีโอกาส “เข้าเนื้อ” สูงครับ
วัดค่า pH ดินแม่นยำ คุณภาพจากญี่ปุ่น
จะแก้ปัญหาค่าดินให้ถูกจุด ต้องมั่นใจว่าค่า pH ดินที่วัดได้มีความถูกต้อง ... พบกับ Takemura DM-5 เครื่องวัดค่ากรดด่างและความชื้นดิน แบรนด์ญีุ่ป่น ของแท้ ... คลิกเพื่อรับส่วนลดและของแจกฟรีมากมาย
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Add to cartQuick View