โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เกิดจาก “ไฟทอปธอร่า Phytophthora” ที่เจริญเติบโตได้ดีและขยายจำนวนอย่างรวดเร็วในดินที่มีความเป็นกรดสูง (ค่า pH ต่ำ) เจ้าของสวนทุเรียนจึงควรทำสิ่งนี้เพื่อป้องกัน และรักษาโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 3 นาที
Quick Navigation
โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เกิดจาก "ไฟทอปธอร่า Phytophthora" ที่เจริญเติบโตได้ดีและขยายจำนวนอย่างรวดเร็วในดินที่มีความเป็นกรดสูง
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
1. โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน
ปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา คุณลุงเจ้าของสวนทุเรียนท่านหนึ่งจาก จ. ชุมพร แวะมาเยี่ยมชมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ ifarmShop (ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร)
ลุงเป็นคนคุยเก่ง แกเล่าว่าฟังว่าทำทุเรียนมาหลายปี แต่ปีนี้ไม่ค่อยดีเท่าไร เมื่อปีกลายที่สวนโดนน้ำท่วมหนัก หลังจากน้ำแห้งแล้ว ทุเรียนที่สวนอาการไม่ค่อยดี ยืนต้นตายไปหลายต้น และยังอยู่ในอาการโคม่าอีกไม่น้อย แกก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการเติมปุ๋ย ฉีดยาสารพัดตามที่เพื่อน ๆ ชาวสวนด้วยกันแนะนำ
แต่ “ดูทรง” แล้วน่าจะเอาไม่อยู่
ผมเลยถามแกไปว่าหลังจากน้ำท่วมเคยวัดค่า pH ของดิน และน้ำในสวนดูบ้างไหม ???
คำตอบ คือ ไม่เคยวัดทั้งนั้น ไม่ว่าจะตอนนี้ หรือตอนไหน
แต่ที่มาเพราะลูกสาวที่อยู่กรุงเทพ ฯ ได้อ่านโพสต์เกี่ยวกับค่า pH ดินและน้ำสำหรับทุเรียนของ “ไอฟาร์ม” เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับพ่อ เลยบอกพ่อให้ลองแวะมาคุยที่ร้านดู เพราะไหน ๆ แกจะขึ้นมาเยี่ยมที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว
คุณลุงทำสวนทุเรียนแบบใช้ประสบการณ์ ไม่ค่อยได้วัดค่าดินค่าน้ำอะไรเท่าไร
ผมเลยถือโอกาสเอาสิ่งที่เขียนในโพสต์มาขายให้ลุงแกฟังอีกรอบ
สุดท้ายลุงโดนผมป้ายยาครับ 555 (หยอก ๆ นะครับ)
ตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ชุดเดียวกับที่โฆษณาไป 1 ชุด คือ เครื่องวัด pH ดิน TAKEMURA รุ่น DM-15 และเครื่องวัดค่า pH น้ำ Hanna อย่างละ 1 ตัว
——
แอบนินทาลุงแกหน่อย
คนทำทุเรียนน่าจะรวยเอาเรื่องนะ พกแต่เงินสดเป็นฟ่อนเลย
555
——-
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งรูปมารายงานผล
ค่า pH ดินอยู่แถว ๆ 4.6-4.7 pH
เป็นกรดสูงเลยครับ
เหมือนอย่างที่ตั้งสมมุติฐานให้แกฟังเลยว่าทุเรียนอาจโดนเจ้า “ไฟทอปธอร่า Phytophthora” เล่นงานจนเป็นโรครากเน่าโคนเน่า
ไฟทอปธอร่า เป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดินในสภาวะที่เป็นกรด
ยิ่งค่า pH ต่ำกว่า 5 ยิ่งชอบ
ของโปรดเลยครับ
ดินที่โดนน้ำท่วมขังนาน มีโอกาสกลายเป็นกรดได้สูง เพราะขาดออกซิเจน
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ไม่ได้ แต่เชื้อราที่เป็นอันตรายต่อทุเรียน (และพืชอื่น ๆ ) ชอบครับ
และเมื่อดินเป็นกรด (หรือด่าง) มาก ๆ เราจะเจอปัญหาหนักอกอีกเด้งครับ
นั่นคือ ธาตุอาหารหลักจะถูกล๊อคเอาไว้ รากทุเรียนดูดไปใช้ไม่ได้ กินอาหารไม่ได้
ขณะที่ธาตุอาหารรอง ๆ เช่น ที่ทุเรียนต้องการนิดเดียว กลับถูกละลายออกมาเกินความต้องการ
เกินจนเป็นพิษต่อทุเรียน
ดูแลค่า pH ดินและน้ำ ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าที่ต้นตอ
ดินและน้ำที่มีค่า pH ต่ำมาก (ต่ำกว่า 5.00 pH) เอื้อให้เชื้อโรคและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายเจริญเติบโตและขยายจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
2. การรักษาโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน
ผมเลยแนะนำให้แกระวังเรื่องน้ำท่วมขังโคนต้น และให้ใช้โดโลไมท์ไปปรับ pH ดินดู ใส่โดโลไมท์จะดีตรงได้แมกนีเซียมไปในตัวอีกด้วย อีกทางก็ให้หา “ไตโคเดอม่า” มาฉีดช่วย
ให้ทำทั้ง 2 ทาง
น่าจะช่วยได้เยอะ
และสำทับให้ลุงแกหมั่นวัดค่าดิน ค่าน้ำบ่อย ๆ
เพราะค่าพวกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งจากน้ำท่วม น้ำทะเลหนุน น้ำฝน การใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ
หรือแม้แต่การใส่น้ำหมักต่าง ๆ เป็นประจำ
ที่นำเรื่องนี้มาเล่า เพราะดีใจ
ดีใจที่อุปกรณ์ชุดนี้ช่วยให้ลุงแกรู้สาเหตุ และกลับไปแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ไม่แก้ปัญหาแบบเหวี่ยงแห
รับประกันเลยครับว่าจะผลลัพธ์ 2 เด้งต่อไปนี้ … อย่างแน่นอน
เด้งที่ 1 ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย
เด้งที่ 2 ช่วยฟื้นฟูต้นที่เหลือให้รอด ผลผลิตจะกลับมาดีเหมือนเดิม
หยุดโรคทุเรียน ด้วยพลังธรรมชาติ ก่อนสายเกินแก้
B-HERO คือผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่วิจัยและพัฒนาโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ด้วยแนวคิด #BioActive Shield 🛡️ ที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคทุเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ B-HERO ช่วยควบคุมและยับยั้งเชื้อราหลากหลายชนิด เช่น รากเน่าโคนเน่า เน่าคอดิน ใบเหลืองร่วง และโรครุนแรงอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า ฟิวซาเรียม ราสีชมพู ราสนิมหรือจุดสาหร่าย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทุเรียนยืนต้นตาย B-HERO สามารถทนความร้อนได้ถึง 80 องศา 🌡️ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับปุ๋ย ยา ฮอร์โมน และสารเคมีทุกชนิด ยกเว้นกลุ่มคอปเปอร์ ผลิตภัณฑ์นี้เป็นเชื้อสดไม่ผ่านการแปรรูป ทำให้มีประสิทธิภาพสูงและมีปริมาณเชื้อสูงถึง 1,000 ล้านล้านล้านตัว หลายสวนพิสูจน์แล้วว่าเห็นผลจริง ✅
กรณีศึกษา
เคส # 1 : น้ำท่วมใหญ่ ดินกลายเป็นกรด ทุเรียนนนท์เสียหายหลายร้อยไร่
ในปี 2554 หลายพื้นที่จังหวัดนนทบุรีประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ค่า pH ดินลดต่ำลงไปอยู่ในช่วง 4.5-5.0 ซึ่งจัดอยู่ในระดับ "กรดจัดมาก (Very Strongly Acid)" ไปจนถึง "กรดรุนแรงมาก (Extremely Acid)" ทำให้ต้นทุเรียนขาดอาหารตาย (ความเป็นกรดของดินล็อคธาตุอาหารเอาไว้ ทุเรียนดูดไปใช้ได้ไม่เป็นเต็มที่) เป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
เคส # 2 : ทุเรียนสวน จ. ตราดยืนต้นตาย 300 ต้น รากเน่าอีก 400 ต้น หลังพบดินมีค่าความเป็นกรดสูง
ปี 2560 สวนทุเรียนของ "คุณพิเชษฐ์ มูลชอบ" ซึ่งอยู่ที่ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราดประสบปัญหาทุเรียนยืนต้นตายร่วม 300 ต้น และทุเรียนที่ปลูกเริ่มเป็นโรคอีก 400 ต้น ภายหลังตรวจพบ ค่า pH ดินปลูกทุเรียน มีความเป็นกรดสูง 4.0-5.0
หมายเหตุ: เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอ และอื่น ๆ ในบทความนี้และในเว็บไซต์ทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ “บริษัท ไอฟาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ห้ามลอกเลียน ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางใดทางหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ
-
-5%Out of stockRead moreQuick View
-
-4%Add to cartQuick View
-
-5%Add to cartQuick View