คุณเคยได้ยินว่าการใส่อินทรียวัตถุ (Organic Matter) ทำให้ดินเป็นกรดหรือไม่? ความเชื่อนี้ทำให้คนทำเกษตรหลายคนพลาดโอกาสในการปรับปรุงดิน แต่ความจริงน่าตกใจกว่าที่คิด! บทความนี้จะเปิดเผยข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งเกี่ยวกับอินทรียวัตถุและผลกระทบต่อดิน พร้อมเผยเคล็ดลับการใช้งานที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของคุณไปตลอดกาล
ไอฟาร์มทีม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
Quick Navigation
กูรูหลายสำนักมักแนะนำให้เติม “เกลือแกง” ลงในดินโดยบอกว่าเป็นการช่วยเพิ่มรสชาติ (ความหวาน) ให้ผลไม้ โดยกับเฉพาะมะพร้าว
ขอบอกว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย” ครับ หากดินในสวนของคุณเป็นดินที่ดีอยู่แล้ว (อาจจะพออนุโลมสำหรับพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือพื้นที่ชายฝั่ง)
ความเข้าใจผิดที่แพร่หลาย
เกลือแกง มีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติได้ก็จริง แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น อาจจะเพียง 1-2 ปี แต่หลังจาก “เกลือแกง” จะสะสมอยู่ในดินและนำไปสู่ปัญหาปวดหัวมากมายครับ
ขออธิบายด้วยข้อมูลต่อไปนี้ครับ
Advertising Area | พื้นที่ประชาสัมพันธ์ : ชุดทดสอบค่าอินทรียวัตถุ
เกลือแกง หรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มีผลกระทบที่สำคัญต่อดินและผลผลิตทางการเกษตรทั้งในด้านเคมีและชีวภาพ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหลายประการ ดังนี้
1. ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน
✔️ ไอออนโซเดียม (Na⁺): โซเดียมในดินสามารถแทนที่แคลเซียม (Ca²⁺) และแมกนีเซียม (Mg²⁺) บนพื้นผิวของอนุภาคดิน ทำให้โครงสร้างดินเสื่อมสภาพและความสามารถในการระบายน้ำลดลง
✔️ ไอออนคลอไรด์ (Cl⁻): คลอไรด์ในปริมาณสูงสามารถเป็นพิษต่อพืชได้ โดยทำให้ใบไม้ไหม้และการเจริญเติบโตช้าลง
2. การเปลี่ยนแปลงค่า pH ของดิน
ผลกระทบของ NaCl ต่อค่า pH: การสะสมของโซเดียมคลอไรด์สามารถทำให้ค่า pH ของดินเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปแล้ว ดินที่มีความเค็มสูงมักจะมีค่า pH เป็นด่างมากขึ้น เนื่องจากโซเดียมไอออนมีความสามารถในการลดความเป็นกรดของดิน
3. ผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร
3.1 การเจริญเติบโตของพืชลดลง
✔️ กระบวนการออสโมซิส (Osmosis): เกลือในดินทำให้ความดันออสโมซิสในดินสูงขึ้น ทำให้พืชดูดซึมน้ำได้น้อยลง ส่งผลให้พืชแสดงอาการขาดน้ำ แม้ว่าจะมีน้ำในดินเพียงพอ
✔️ การดูดซึมสารอาหาร: โซเดียมคลอไรด์สามารถลดความสามารถในการดูดซึมธาตุอาหารที่จำเป็น เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
3.2 ความเป็นพิษต่อพืช
✔️ พิษจากโซเดียม (Sodium Toxicity): โซเดียมในปริมาณสูงสามารถเป็นพิษต่อพืช ทำให้เกิดอาการใบไหม้และความเสียหายต่อรากพืช เนื่องจากโซเดียมมีความสามารถในการทำลายเซลล์รากพืช
✔️ พิษจากคลอไรด์ (Chloride Toxicity): คลอไรด์ในปริมาณสูงสามารถสะสมในใบพืชและทำให้เกิดอาการใบไหม้ ซึ่งส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง
3.3 เคมีของการสะสมเกลือในดิน
✔️ พิษจากโซเดียม (Sodium Toxicity): โซเดียมในปริมาณสูงสามารถเป็นพิษต่อพืช ทำให้เกิดอาการใบไหม้และความเสียหายต่อรากพืช เนื่องจากโซเดียมมีความสามารถในการทำลายเซลล์รากพืช
✔️ พิษจากคลอไรด์ (Chloride Toxicity): คลอไรด์ในปริมาณสูงสามารถสะสมในใบพืชและทำให้เกิดอาการใบไหม้ ซึ่งส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง
3.4 การละลายและการตกตะกอนของสารประกอบในดิน
การละลายของเกลือ: โซเดียมคลอไรด์ละลายน้ำได้ดี ทำให้สามารถกระจายตัวและสะสมในดินได้ง่าย
การตกตะกอนของสารประกอบ: การสะสมของเกลือในดินสามารถทำให้เกิดการตกตะกอนของสารประกอบต่างๆ ที่ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ
4. สรุป
เห็นไหมครับ ปัญหาตามมาเป็นพรวนเลย และส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก และใช้ “เวลา” ในการแก้ไขนาน
ทุกวันนี้หลายพื้นที่มีปัญหาดินเค็ม นอกจากจะเกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติแล้ว ยังเกิดจากฝีมือของมนุษย์เอง เช่น การทำนากุ้ง รวมทั้งการนำเกลือแกงไปใส่ในสวนด้วย
ใครไม่แน่ใจว่าดินในสวนของตัวเองมีปัญหาเรื่องดินเค็มไหม ต้องวัดดูครับ ถ้าไม่เกิน 2 dS/m ถือว่าโอเคร แต่พืชบางชนิดอาจจะทนเค็มได้มากกว่านี้ แต่เต็มที่ก็ไม่น่าจะเกิน 4 dS/m
ย้ำอีกที ปัญหาดินเค็มแก้ยาก ก่อนตัดสินใจทำอะไรศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนนะครับ
วัดค่า pH ดินแม่นยำ คุณภาพจากญี่ปุ่น
จะแก้ปัญหาค่าดินให้ถูกจุด ต้องมั่นใจว่าค่า pH ดินที่วัดได้มีความถูกต้อง ... พบกับ Takemura DM-5 เครื่องวัดค่ากรดด่างและความชื้นดิน แบรนด์ญีุ่ป่น ของแท้ ... คลิกเพื่อรับส่วนลดและของแจกฟรีมากมาย
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Add to cartQuick View