ทำก้อนเห็ดออกมาไม่ได้คุณภาพ มีปัญหาราและแบคทีเรียให้ตามแก้ไม่จบไม่สิ้น ผลผลิตดอกเห็ดไม่ได้ตามเป้าหมาย ส่วนหนึ่งมาจากความชื้นในก้อนเห็ด หรือ ความชื้นขี้เลื่อยเพาะเห็ด เป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขาที่หลายคนทำพลาดจนนำไปสู่การขาดทุน
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
Quick Navigation
"ความชื้น หรือน้ำที่ผสมอยู่ในขี้เลื่อยจะทำหน้าที่เป็นสื่อในการนำความร้อนไปสู่ใจกลางก้อนเห็ด ทำให้ความร้อนจากไอน้ำในเตานึ่งก้อนแพร่กระจายไปได้ทั่วทั้งก้อน"
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
จะผลิตก้อนเห็ดให้ได้คุณภาพ เราต้องเอาใจใส่ “ความชื้นในก้อนเห็ด” หรือ “ความชื้นขี้เลื่อยเพาะเห็ด” เป็นพิเศษครับ
ความชื้นในก้อนเห็ด ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Moist” ซึ่งเป็นคนละตัวกับความชื้นในโรงเรือน หรือ ความชื้นในอากาศ ตัวนั้นภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “Relative Humidity” ถ้าใครเคยซื้อเครื่องวัดความชื้นจาก “ไอฟาร์ม” ไปใช้ ลองสังเกตที่หน้าปัดดูครับ จะมีตัวอักษร RH แสดงอยู่
RH ตัวนี้ก็ย่อมาจาก Relative Humidity นั่นเองครับ
ความชื้นในก้อนเห็ด หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ความชื้นในขี้เลื่อย มีความสำคัญต่อคุณภาพของก้อนเห็ดค่อนข้างมากครับ ผมจัดให้เป็น Critical Factor ตัวหนึ่งทีเดียวเลยครับ
จะ Critical มากน้อยขนาดไหน ลองตาม 2-3 ประเด็นต่อไปนี้กันดูครับ
เป็นสื่อในการนำความร้อน
ความชื้น หรือน้ำที่ผสมอยู่ในขี้เลื่อยจะทำหน้าที่เป็นสื่อในการนำความร้อนไปสู่ใจกลางก้อนเห็ด ทำให้ความร้อนจากไอน้ำในเตานึ่งก้อนแพร่กระจายไปได้ทั่วทั้งก้อน หากจุดไหนที่มีความชื้นต่ำ หรือแห้งเกินไป จุดนั้นมักจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดรา หรือแบคทีเรียที่เป็นปรปักษ์ต่อเส้นใยเห็ดได้
มีตัวอย่างจะเล่าให้ฟังครับ ผมเคยไปเยี่ยมฟาร์มเห็ดฟาร์มหนึ่งที่ภูเก็ต ตอนนี้เป็นฟาร์มค่อนข้างใหญ่แล้ว ช่วงที่ทำใหม่ ๆ ฟาร์มนี้มีปัญหาเรื่องราขึ้นที่ก้อนเห็ดเป็นจำนวนมาก เจ้าของฟาร์มก็หาสาเหตุไม่เจอ ยืนยันว่าการนึ่งก้อนทำถูกต้องทุกขั้นทุกตอนตามที่เคยอบรมเพาะเห็ดกับไอฟาร์มมา
วันที่ผมลงไปเยี่ยมเขากำลังให้คนงานซึ่งเป็นชาวต่างชาติผสมขี้เลื่อยอยู่พอดี ตอนนั้นเขายังไม่ได้ใช้เครื่องผสม พอผสมเสร็จ ผมเลยขอเข้าไปตรวจความชื้นดู ผลปรากฏว่าความชื้นที่วัดได้ในแต่ละจุดมีค่าต่างกันมาก ไม่สม่ำเสมอ บางจุดสูงเกินไป บางจุดก็ต่ำจนเกินไป
นี่ละครับคือต้นตอของปัญหาราต่าง ๆ คนงานต่างชาติบางทีเขาไม่เข้าใจหลักการ ไม่เข้าใจว่าหัวใจของแต่ละขั้นตอนคืออะไร แม้แต่ตัวเจ้าของฟาร์มเองบางทีก็เข้าใจคลาดเคลื่อน คิดว่าขั้นตอนการนึ่งก้อนเป็นเรื่องที่อยู่แค่ในเตา คุมอุณหภูมิให้อยู่ จับเวลาให้ได้ทุกอย่างก็จบ จริงๆ มันต้องเริ่มตั้งแต่การหมักขี้เลื่อยและผสมขี้เลื่อยนั่นเลย
การนึ่งก้อนเห็ดให้ได้ก้อนที่มีคุณภาพ ไม่ใช่ดูแค่เรื่องอุณหภูมิ ต้องดูเรื่องความชื้นในขี้เลื่อยควบคู่ไปด้วย
ความร้อนถึง แต่ความชื้นไม่ถึง เราก็ไปไม่ถึงฝันได้เหมือนกันนะครับ
เห็ดแต่ละชนิดต้องการความชื้นแตกต่างกัน
เส้นใยเห็ดต้องการความชื้นหรือน้ำเพื่อการเจริญเติบโต แต่ไม่ต้องการอะไรมากมาย แค่ที่เราเติมไปตอนผสมขี้เลื่อยก็เพียงพอแล้ว
ไม่ต้องเติมเพิ่มลงไปเหมือนที่เรารดน้ำต้นไม้แล้วนะครับ
บางคนอาจแย้งว่า แล้วที่ตำราบอกให้ให้น้ำวันละ 4-6 รอบ หมายถึงอะไร ?
อันนั้นเขาเรียก Relative Humidity ไงครับ น้ำที่ให้ไปเพื่อไปเพิ่มความชื้นในอากาศ เราไม่ได้เติมน้ำลงไปในก้อนเห็ด ถ้าน้ำเข้าก้อนเห็ดเมื่อไร ก้อนเห็ดจะเสียหาย เกิดเชื้อราหรือเน่าได้
ที่เราต้องดูแลเรื่องความชื้นในอากาศที่อยู่ในโรงเห็ด ก็เพราะในดอกเห็ดมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 70-80 % ถ้าเมื่อไรความชื้นในอากาศต่ำ ดอกเห็ดจะคายน้ำออก ทำให้เห็ดดอกเล็ก หรือแห้งได้ ดอกที่ได้จะไม่สมบูรณ์
ขอตัดกลับมาที่ความชื้นในขี้เลื่อย
มีจุดหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเห็ดทุกชนิดต้องการความชื้นในวัสดุเพาะเท่ากันหมด จริง ๆ แล้วเส้นใยเห็ดแต่ละชนิดต้องการความชื้นที่แตกต่างกันครับ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางนวล และเห็ดขอน ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 65-70% ส่วนเห็ดหูหนูต้องการความชื้นสูงถึง 75-80% ถ้าเห็ดหูหนูมีความชื้นเท่ากับเห็ดสกุลนางฟ้า เส้นใยจะเดินไม่ค่อยดีครับ
ดังนั้นเราต้องวัดความชื้นให้แม่นยำ และดูแลให้เหมาะสมกับความต้องการของเห็ดแต่ละชนิด
ปกติฟาร์มเห็ดส่วนใหญ่จะใช้วิธีการความวัดความชื้นในขี้เลื่อยด้วยการสังเกตุสีของขี้เลื่อยควบคู่ไปกับการใช้มือกำเอา วิธีการคือเอาขี้เลื่อยมากำด้วยมือแล้วแบออก ถ้าขี้เลื่อยแตกละเอียดไม่จับเป็นก้อน แสดงว่าความชื้นต่ำเกินไป ถ้าแบออกมา แล้วแยกออกจากกันสองส่วนสามส่วนจะถือว่าใช้ได้ ความชื้นพอ
อันนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมานาน ใช้ Body Sense ล้วน ๆ
ถามว่าใช้ได้ไหม ? ก็ต้องตอบว่าได้ครับ แต่ก็ต้องมีประสบการณ์พอตัวครับ
ให้นักเพาะเห็ดมือใหม่ ๆ ใช้มือแยกความชื้นระหว่าง 65-70% กับ 75-80% ให้ออก ยากเอาเรื่องอยู่นะครับ มีโอกาสเกิด Error สูงทีเดียวเลยครับ
มีจุดหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเห็ดทุกชนิดต้องการความชื้นในวัสดุเพาะเท่ากันหมด
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
อย่าว่าแต่มือใหม่เลยครับ บางทีฟาร์มเก๋า ๆ ก็โดนเรื่องเล็ก ๆ แบบนี้เล่นงานจนเสียหายกันคนละหลายกำปั้น
-
ที่วัดความชื้น และ PH กรดด่างขี้เลื่อย เบดดิ้งเลี้ยงไส้เดือน ดิน กองหมัก (3 In 1)ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
ความชื้นคายตัวอยู่ตลอดเวลา
ธรรมชาติของความชื้นจะมีการคายตัวอยู่ตลอดเวลา ยิ่งวันไหนอากาศแห้ง ความชื้นก็จะคายตัวลดลง ถ้าเราใช้เวลาอัดก้อนนานเกินไป ความชื้นในขี้เลื่อยก็จะลดลงเรื่อยๆ
มิใช่แค่วัดค่าแล้วจบ ต้องดูแลรักษาค่าความชื้นให้อยู่ด้วยในระหว่างที่ทำก้อนเห็ดอีกด้วย ย้ำนะครับ อย่าลืมจุดนี้เด็ดขาด
วิธีป้องกันและแก้ไข
ปัญหาเรื่องนี้แก้ง่าย ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร
1. ผสมขี้เลื่อยและส่วนผสมอื่นๆให้เข้ากันให้ดี ความชื้นในแต่ละจุดควรใกล้เคียงกัน ถ้าใช้เครื่องผสมขี้เลื่อย งานก็จะไม่หนักมาก ประหยัดเวลา แถมไม่ต้องปวดหัวเรื่องแรงงานอีกด้วย แต่ต้องเปิดเครื่องให้ทำงานสัก 15 นาทีนะครับ ส่วนผสมต่างๆจะได้เข้ากันดี ไม่กระจุกตัวและไม่จับตัวเป็นก้อน
ถ้าไม่มีเครื่องผสม ก็ใช้อุปกรณ์ที่พอให้ได้ ดัดแปลงได้ทุกอย่าง แต่จะผสมให้เข้ากันได้ดี ก็อาจต้องใช้เวลาบ้าง
2. ตรวจวัดความชื้นด้วยเครื่องมือวัดความชื้นดีกว่าครับ จะใช้ควบคู่ไปกับการใช้มือกำแบบที่เคยทำมาก็ได้ เสร็จแล้วปรับความชื้นให้สอดคล้องกับความต้องการของเห็ดแต่ละชนิด แล้วพยายามรักษาความชื้นในกองขี้เลื่อยให้ดี ถ้าคนงานน้อยก็อย่าทำกองใหญ่มากเพราะจะทำงานไม่ทันความชื้น ไม่อย่างนั้นก็ต้องหาเครื่องอัดก้อนเห็ดเข้ามาช่วย และจะให้ดีหาผ้าใบมาคุมระหว่างการทำก้อนด้วยก็ได้
3. ทำขั้นตอนการวัดให้เป็น Standard Practice คือให้วัดทุกครั้ง บันทึกค่าทุกครั้ง แล้วให้คนวัดลงชื่อกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง เวลาเกิดปัญหาจะได้ track ต้นตอของปัญหาได้ ถ้าไม่มี Standard Practice เวลาคนงานลาออก ปัญหามักตามมาแทบทุกฟาร์ม ต้องมานั่งสอนกันเยอะกว่าจะเข้าที่เข้าทาง
จะเพาะเห็ด หรือจะทำเกษตรใดๆ ก็ตามที เราต้องมี Standard Practice มี Procedure เป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจนนะครับ
อย่าเอา “ความเป็นความตาย” ของธุรกิจของเราไปผูกกับ “ความรู้สึก” เด็ดขาด
เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ ผลผลิตดี กำไรงาม !!
-
-3%Add to cartQuick View
-
Add to cartQuick View
-
Add to cartQuick View