ความชื้นโรงเรือนเพาะเห็ด คือ Critical Factor ที่สำคัญมาก ๆ ตัวหนึ่ง ถ้าความชื้นต่ำไป หรือสูงเกินไป ก็สร้างปัญหาให้กับดอกเห็ดได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้นถ้าอยากได้ผลผลิตดอกเห็ดที่ได้มาตรฐาน สร้างกำไรงาม ๆ นี่คือ 5 เรื่องเกี่ยวกับ “ความชื้นโรงเรือนเพาะเห็ด” ที่นักเพาะเห็ดมือใหม่ต้องอ่าน
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
Quick Navigation
มวลอากาศเย็นจะอยู่ระดับต่ำ ๆ ส่วนมวลอากาศร้อนจะลอยขึ้นสู่ที่สูง ด้วยเหตุนี้ความชื้นสัมพันธ์ด้านบนของโรงเรือนเห็ดจึงต่ำกว่าความชื้นที่ด้านล่างของโรงเรือน
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
“ความชื้นโรงเรือนเพาะเห็ด” หรือ “ความชื้นในอากาศ” เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ “ดอกเห็ด” โดยตรง ควบคู่ไปกับ “อุณหภูมิ” “อากาศ” และ “แสง”
ความชื้นตัวนี้ เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ความชื้นสัมพัทธ์” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Relative Humidity” หน่วยวัดแสดงอยู่ในรูปร้อยละ (%) ส่วนตัวย่อก็คือ “RH” ความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าต่ำเกินไป ดอกเห็ดจะแห้ง หรือมีขนาดเล็กได้ กลับกันถ้ามีสูงเกินไป ดอกเห็ดอาจไม่สมบูรณ์ หรือหงิกงอได้
ต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเห็ดที่นักเพาะเห็ดมือใหม่ควรรู้
เพิ่มความชื้นด้วยการ "ให้น้ำ"
ก่อนอื่นผมอยากให้ใช้คำว่า “ให้น้ำ” แทนคำว่า “รดน้ำ”
เวลาใช้คำว่า “รดน้ำ” อารมณ์จะคล้าย ๆ กับการรดน้ำต้นไม้ ที่เอาน้ำฉีดลงไปที่รากที่โคนต้น มือใหม่หลายคนจึงเข้าใจผิด เอาน้ำฉีดเข้าไปในก้อนเห็ด ผลที่ตามมาคือก้อนเสียก้อนเน่า แทนที่จะดอกเห็ดกลายเป็นได้เชื้อรามาแทน
วัตถุประสงค์ของการให้น้ำ คือ การเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ และลดอุณหภูมิ จะใช้น้ำฉีด หรือพ่นไปที่ผนัง + พื้นโรงเรือน และที่ก้อนเห็ดด้วยก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าไปก้อนเห็ด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้น้ำเห็ด ก็มีตั้งแต่การใช้สายยางฉีดแบบบ้าน ๆ หรือดีขึ้นมาก็เป็นพวกเครื่องพ่นหมอก เพราะจะได้ละอองน้ำที่ละเอียด ไม่ต้องกังวลปัญหาน้ำเข้าก้อน
ความชื้น Vs. อุณหภูมิ
โดยกลไกของธรรมชาติ มวลอากาศเย็นจะอยู่ระดับต่ำ ๆ (เพราะความหนาแน่นสูง) ส่วนมวลอากาศร้อนจะลอยขึ้นสู่ที่สูง (เพราะความหนาแน่นต่ำ) ด้วยเหตุนี้ความชื้นสัมพันธ์ด้านบนของโรงเรือนเห็ดจึงต่ำกว่าความชื้นที่ด้านล่างของโรงเรือน
ว่าง ๆ ก็ลองใช้ เครื่องวัดความชื้น hygrometer วัดในโรงเรือนเปรียบเทียบดูไว้เป็นข้อมูลก็ดีนะครับ
ค่าที่วัดได้จะหนีไม่พ้น Pattern นี้แน่นอนครับ
ข้างบน : อุณหภูมิสูง – ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
ด้านล่าง : อุณหภูมิต่ำ – ความชื้นสัมพัทธ์สูง
Hence : เอาข้อมูลที่ได้ตรงนี้ไปปรับใช้ในการออกแบบและสร้างชั้นวางก้อนเห็ดให้ fit กับความต้องการของเห็ดแต่ละชนิดก็ดีนะครับ
มีจุดหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเห็ดทุกชนิดต้องการความชื้นในวัสดุเพาะเท่ากันหมด
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
เห็ดแต่ละชนิดต้องการ RH ต่างกัน
เห็ดแต่ละชนิดต้องการความชื้นไม่เท่ากัน เช่น เห็ดหูหนู ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 80-85% ส่วนเห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรมก็อยู่ที่ 70-75%
การให้น้ำมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่ที่ชนิดของเห็ดด้วย
อันนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นักเพาะเห็ดมือใหม่ต้องศึกษา ผมไม่ลงรายละเอียดมาก เพราะสามารถหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ง่ายอยู่แล้ว
ตายเพราะให้น้ำตามตำรา
ข้อมูลในหนังสือเพาะเห็ดหลาย ๆ เล่ม และอินเตอร์เน็ตหลาย ๆ แห่งบอกไว้ว่าให้รด (ให้) น้ำเห็ดวันละ 5-6 รอบทุกวัน หรือบางทีก็บอกยึดหลัก “รดน้อยแต่บ่อย”
ผมคิดว่าเราท่องแบบนี้ไม่ได้ ฝนตกทั้งวันก็ยังให้น้ำ 5-6 รอบเหมือนเดิมก็เสร็จซิครับ
หรือคนหนึ่งสร้างโรงเรือนอยู่ที่โลงแจ้ง อีกคนหนึ่งปลูกอยู่ใต้ต้นไม้ 2 คนนี้แม้จะเพาะเห็ดชนิดเดียวกัน โรงเรือนก็สร้างแบบเดียวกัน จะให้น้ำเห็ดเหมือนกันเท่ากันย่อมเป็นไปไม่ได้
ดังนั้นจะให้น้ำมากหรือน้อย ให้ใช้เครื่องวัดความชื้น-อุณหภูมิ เป็นตัวตอบเราครับ
ทำเกษตรทำเห็ดอย่าท่องตำราเป็นนกแก้วนกขุนทอง ทำทุกอย่างให้มีหลักมีเกณฑ์
และห้ามเด็ดขาดนะครับ ประเภทขี้เกียจให้น้ำบ่อย ๆ เลยติดตั้ง Timer ให้รดน้ำเป็นเวลา ตั้งไว้ 9 โมงเช้า ตอนนั้นฝนตกพอดี ข้างนอกโรงเรือนฝนตก ข้างในโรงเรือนระบบน้ำก็พ่นอยู่ตลอดเวลา แฉะซ้ำแฉะซ้อนเลยคราวนี้
ถ้าอยากประหยัดเวลา ไปหาพวกตัว Micro Controller แบบนี้มาใช้ดีกว่าครับ มันทำงานตามอุณหภูมิ และความชื้นที่เราต้องการครับ
5 ข้อง่าย ๆ แบบนี้ ถ้าทำความเข้าใจให้ดี เชื่อว่านักเพาะเห็ดมือใหม่ก็จะได้ผลผลิตไม่แพ้นักเพาะเห็ดมือโปรอย่างแน่นอนครับผม
-
Add to cartQuick View
-
Add to cartQuick View
-
-3%Add to cartQuick View