ค่า pH เพาะเห็ด ถือเป็น 1 ใน 5 Critical Factors ที่คนทำเห็ดทุกคนต้องเอาใจใส่ ถ้าละเลย หรือมองข้ามมันเมื่อไร โอกาสผิดพลาดถึงขั้นขาดทุนอาจมาเยือนฟาร์มของคุณได้ทุกเมื่อ ต่อไปนี้คือ Case Study ที่อยากให้คุณอ่าน เพราะจากประเด็น “ค่า pH เพาะเห็ด” เพียงจุดเล็ก ๆ นำไปสู่การขาดทุนใหญ่โตได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 3 นาที
Quick Navigation
เชื่อไหมครับว่าฟาร์มเห็ดจำนวนหนึ่งขาดทุนคราวละหลายแสน … ย้ำ…คราวละหลายแสน เพียงเพราะมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ เช่นเรื่อง “กรดด่าง” ไป
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
ความสำคัญของค่า pH เพาะเห็ด
อย่างที่เรารู้กันครับว่า “pH” หรือ “กรดด่าง” คือ 1 ใน 5 เสือปัจจัยในการผลิตที่คนเพาะเห็ดต้องดูแลเอาใจใส่ไม่แพ้ อุณหภูมิ ความชื้น แสง และอากาศ
แต่เชื่อไหมครับว่าฟาร์มเห็ดจำนวนหนึ่งขาดทุนคราวละหลายแสน … ย้ำ…คราวละหลายแสน เพียงเพราะมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ เช่นเรื่อง “กรดด่าง” ไป
จะว่าไป งานอันดับแรก ๆ ของคนทำเกษตรทุกคนควรทำก็คือ วัด pH ของดิน กับ pH น้ำ
ด้วยเหตุผลกลใดก็ยากจะคาดเดาว่าทำไมคนทำเกษตร (ไม่ใช่แค่คนทำเห็ด) ถึงไม่ค่อยสนใจ Critical Factor ตัวนี้สักเท่าไร
กรณีศึกษาความผิดพลาดเกี่ยวกับ pH เห็ดฟาง
ผมมีตัวอย่างหนึ่งอยากจะเล่าให้ฟังครับ
ก่อนหน้านี้ “ฟาร์มเห็ดฟาง” แถว ๆ นครนายก ชวนให้ผมแวะเข้าไปเที่ยว (จริง ๆ น่าจะออกแนวชวนไปช่วยแก้ปัญหาเสียมากกว่า … ฮ่า) ฟาร์มแห่งนี้เขาเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์ม ขนาดใหญ่พอสมควรเลยครับ มีโรงเรือนเพาะเห็ดฟางอยู่เกือบ ๆ 20 โรงเรือนเลยทีเดียว
เคยส่งคนมาอบรมเพาะเห็ดฟางที่ไอฟาร์มอยู่ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 2-3 คน
งงใช่ไหมครับว่าทำไมต้องส่งคนมาเรียนเยอะแยะขนาดนั้น
คนสอน ๆ ไม่ดี คนเรียนเลยไม่เข้าใจ ต้องส่งคนหมุนมาเรียนอยู่เรื่อย ๆ?
เปล่าเลยครับ ตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ
คนที่เจ้าของฟาร์มส่งมาเรียน ๆ จนเข้าใจ พอทำเป็นทำเก่ง
ดันขอลาออกไปเปิดฟาร์มเองกันหมด
เจ้าของเงินก็เศร้าซิครับ
กลายเป็น Drama Comedy ตลกเศร้าเคล้าน้ำตากันไป
เจ้าของฟาร์มเป็น “นักธุรกิจระดับพันล้าน” อยู่สาย Entertainment
ไม่มีเวลาลงมาเล่นเอง
คนงานเห็นโอกาสทางธุรกิจก็ตาลุกวาว
อยากเป็น “เถ้าแก่” กันหมด
พอลาออกบ่อย ๆ เข้า …ความต่อเนื่องไม่มี .. ความชำนาญก็ไม่เกิด
ปัญหาต่างๆจึงตามมาหลอกหลอนอยู่เรื่อย ๆ
ตอนผมเข้าไป คนงานชุดใหม่เพิ่งเข้ามาทำ
งวดนี้ไปดึงเอาชาวบ้านที่พอมีประสบการณ์เพาะเห็ดฟางละแวกนั้นมาทำแทน
คนงานชุดนี้ไม่ได้เข้าอบรม (สงสัยคงเข็ด…ฮ่า)
เจ้าของฟาร์มเล่าให้ผมฟังต่อว่า
2-3 รอบแรกที่คนงานชุดนี้เข้ามาทำได้ผลผลิตออกมาระดับน่าพอใจเลย
แต่หลังจากนั้นก็เริ่มเป๋ไปเป๋มา 3-4 รอบติด ๆ
ทุนหายกำไรหด
เสียหายรวมๆไม่ต่ำกว่า 6 กำปั้นเข้าไปแล้ว (ขนหน้าแข้งเจ้าของฟาร์มยังหลุดไปไม่ถึงครึ่งเส้น !!!)
เท่าที่พูดคุยกับคนทำงาน ผมคิดว่าปัญหาน่าจะมาจาก 2-3 เรื่อง
หนึ่ง
อบไอน้ำไม่ถึง คนงานชุดใหม่อบไอน้ำโรงเรือนอยู่แค่ 60 °C เท่านั้น
สอง
ระบายอากาศในโรงเรือนไม่ค่อยดี และ
สาม
วัสดุหลัก คือ ทะลายปาล์มมีค่า pH เป็นด่างค่อนข้างสูง
ในบทความนี้ผมจะขอโฟกัสไปที่เรื่อง pH อย่างเดียวก่อนนะครับ
ปกติเห็ดฟางจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะกรดอ่อน ๆ ค่า pH ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 6.0-7.2 pH
ถ้าต่ำลงไปถึง 5.5 pH ก็ไม่ค่อยดี กรดมากไป
ถ้าวิ่งทะลุขึ้นไป 8 ไป 9 pH ด่างจัดไป ก็ไม่ดีอีก
ต้องจัดการให้อยู่ในช่วง 6.0-7.2 pH ให้ได้ครับ
ยิ่งถ้าคุมให้อยู่ระหว่าง 6.0-6.5 pH ได้ จะแจ่มจรัสมากครับ
วันนั้นผมลองเอากระดาษลิตมัส กับ แท่งวัดกรดด่างที่ติดอยู่ในรถ
ไปวัด pH ในบ่อหมักทะลายปาล์ม
ที่นี่เขาหมักบ่อ ไม่ได้หมักบก
มีอยู่ด้วยกัน 2 บ่อใหญ่
ค่า pH ของทั้ง 2 บ่อวิ่งทะลุ 10 pH ไปอีก
จัดว่า “ด่างจัด” มากครับสำหรับเห็ดฟาง
ไล่ถามคนงานที่ดูแล เขาบอกเห็นเห็ดออกไม่ค่อยดีก็เลยใส่ปูนขาวเพิ่มเขาไปอีก 2-3 เท่าตัว
ผมชักไม่แน่ใจเสียแล้วว่าเป็น “โรคติดต่อ” ไหม?
พอเห็ดออกไม่ดี คนงานในฟาร์มเห็ดหลายแห่งมักจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มปูนขาวเข้าไปดื้อ ๆ เลย
โดยเฉพาะกับคนงานที่ขาดความรู้พื้นฐาน
เขามักคิดว่าปูนขาวเป็นแร่ธาตุวิเศษ แก้โน่นแก้เนี่ยได้
“ปูนขาว” คุณสมบัติเป็นด่างจัดมาก
13-14 pH นู้นเลยครับ
ใส่ลงไปเยอะก็เป็นอันตรายต่อเส้นใยเห็ดได้ครับ
ผมลองไปเอาทะลายปาล์ม Lot ใหม่ที่กำลังทยอยเอาลงจากรถสิบล้อมาวัดหาค่า pH ด้วย
สุ่มมา 3 ทะลาย เอาไปแช่น้ำทิ้งไว้สักพัก ประมาณ 1 ชั่วโมง
ผลที่ได้คือเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 8.5-9.0 pH
ทะลายปาล์มที่เข้ามาเป็นด่างอยู่แล้ว
คนงานยังจัดหนัก “ปูนขาว” เพิ่มกว่าปกติเข้าไปอีก
งานนี้กลายเป็น “ซุปเปอร์ด่าง” (ไม่ใช่สุนัขนะครับ ..ฮ่า)
“ส่วนใหญ่” ทะลายปาล์มใหม่มักมีค่าเป็น “ด่าง” อยู่แล้วเพราะมีการใช้สารประกอบโซเดียมในการหีบน้ำมัน เมื่อเราหมักทิ้งไว้ก็จะปรับสภาพไปเป็น “กรด”
ผมใช้คำว่า “ส่วนใหญ่…มัก”
แปลได้ว่า มันไม่ใช่ทุกครั้งที่วัดออกมาแล้วจะได้ค่าเป็นด่าง
หรือค่าเป็นด่างเท่านี้ทุกครั้งเป๊ะ ๆ ค่า pH จะไม่เท่ากันทุกครั้งหรอกครั้ง
มันมี factor มากระทบหลายอย่าง
ต้องวัดด้วยตัวเอง อย่าเชื่อตัวเลข หรือข้อมูลใด ๆ แม้แต่ตัวเลขที่ผมเขียนไว้
อย่าเอาตัวเลขไปใช้ แต่ให้เอาหลักการไปใช้นะครับ
ดีที่สุด ต้องวัดค่า pH ทุกครั้ง ถ้าผลออกมา pH สูงเกินไป คือด่างจัด ก็เติม “ยิปซั่ม” ลงไปช่วยปรับเสียหน่อย ถ้าออกมาตรงข้าม กรดจัดเกินไป ก็เติม “ปูนขาว” ลงไปช่วยเสียหน่อย
ใส่มากน้อยเท่าไร ก็ดูจากค่า pH เอาครับ
ใน Case ของฟาร์มนี้ อันนี้ผมเดาเอานะครับ (เนื่องจากมีเวลาพูดคุยไม่นาน) เห็ดออกไม่ดีน่าจะมาจากปัญหาการอบไอน้ำโรงเรือนไม่ได้เป็นหลัก เพราะผมสังเกตว่าพวกเห็ดขี้ม้าขึ้นเยอะมาก ทั้งที่ตัดใยไปได้ไม่นาน แต่คนงานจับจุดไม่ถูก ดันไปแก้ปัญหาด้วยการอัดปูนขาวลงไป ปัญหาเลยขยายวงกว้างไปใหญ่เลย
ที่เขาบอกว่าเห็ดฟางเป็นเห็ดปราบเซียน จริง ๆ เห็ดไม่ได้ปราบหรอกครับ เซียนนะปราบตัวเอง เพราะเซียนไม่เคยวัดค่าอะไรเลย ทำงานบนความรู้สึกอย่างเดียว
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
-
ที่วัดความชื้น และ PH กรดด่างขี้เลื่อย เบดดิ้งเลี้ยงไส้เดือน ดิน กองหมัก (3 In 1)ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
แนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับ pH เพาะเห็ด
ผมอยากเสนอความคิดแบบนี้ครับ
1/
เวลาการเพาะเห็ดมีปัญหา อย่าเพิ่งไปยุ่งอะไรกับสูตรอาหารครับ โอกาสน้อยมากครับที่จะมีปัญหามาจากสูตรอาหาร ให้ไปดูที่ Process หลักก่อน ตัวอย่างเช่น ในการเพาะเห็ดฟาง ให้ไปไล่ดูที่การหมักอาหารเพาะ (มีเรื่องของ pH อยู่ในนี้เยอะเลย)
การอบไอน้ำ การดูแลสภาพแวดล้อม หรือก้อนเชื้อ
2/
เรื่องสูตรอาหาร ต้องทำความเข้าใจให้ทะลุปรุโปร่งว่าแต่ละตัวทำหน้าที่อะไร สูตรเคมีคือะไร ใส่ไปทำไม ต้องใส่ตายตัวทุกครั้งไหม ถ้าไม่มีใช้ตัวอื่นทดแทนได้หรือไม่ ? It is a MUST ที่คนเพาะเห็ดต้องรู้ ห้ามท่องเป็นนกขุนแก้วนกขุนทอง ต้องปรับใช้ให้เป็น
เอาเข้าจริง ๆ สูตรอาหารเพาะเห็ดต้องปรับให้สอดคล้องกับค่า pH เสียด้วยซ้ำไป
3/
พยายามวัดค่า 5 เสือสภาพแวดล้อม คือ อุณหภูมิ ความชื้น (ความชื้นสัมพัทธ์ + ความชื้นในวัสดุเพาะ) อากาศ แสง และ pH อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็น Standard Practice คือวัดทุกครั้ง วัดแล้วจนบันทึกเก็บเอาไว้ แม้ผลออกมาปกติอยู่ตลอด ก็ให้วัดต่อไป ทำให้ต่อเนื่อง ทำให้มันฝังอยู่ใน DNA ผมบอกได้เลย เมื่อไรเราเผลอไม่วัด ปล่อยเลยตามเลย มันจะเล่นเราตอนนั้นละครับ ผมเห็นบ่อย ๆ บางคนวัดไป 7-8 รอบ ผลออกมาก็ปกติทุกครั้ง ชะล่าใจไม่วัดต่อ ครั้งที่ 9 เจอแจ๊กพ๊อต
กำไรจาก 7-8 รอบหายวับไปกับตา
ที่เขาบอกว่าเห็ดฟาง เป็นเห็ดปราบเซียน
จริง ๆ เห็ดไม่ได้ปราบหรอกครับ
เซียนนะปราบตัวเอง !!
เพราะเซียนไม่เคยวัดค่าอะไรเลย ทำงานบนความรู้สึกอย่างเดียว
อยากจะเป็น Smart Green Entrepreneur ต้องทำงานบน “ข้อมูล” นะครับ ไม่ใช่ความรู้สึกเพียวๆ
อุ๊บส์….ผมลืมข้อ 4/ ไปครับ … อย่าลืมหาวิธีป้องกันคนงานลาออกด้วยนะครับ…(ฮ่า) !!!
-
-21%Add to cartQuick View