ปลูกทุเรียนแล้วต้นไม่รอด ใบไหม้ ใบร่วงหมดต้น? พี่อดิศักดิ์เจอปัญหานี้มาแล้ว แต่ด้วยการวัดค่าดินและน้ำอย่างถูกต้อง เขาได้ค้นพบวิธีแก้ไขที่ช่วยเซฟเงินไปหลายหมื่น มาดูกันว่าการปรับค่าน้ำและปลูกต้นทองหลางน้ำแซมทุเรียนช่วยให้สวนทุเรียนกลับมามีชีวิตได้อย่างไร
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 3 นาที
Quick Navigation
เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมมีธุระที่สวนทุเรียนของ “พี่ชัดเจนและเครือข่าย” ที่ปากช่อง โคราช
ระหว่างพูดคุยกันอยู่ “พี่อดิศักดิ์” วิ่งจาก อ. คง เข้ามาหา “พี่ชัดเจน” พอดี
คุยกันหลายเรื่องหลายราว ขอหยิบมาส่วนมาเล่าให้ฟัง
น่าจะเป็นประโยชน์กับสมาชิก IFARM ที่ปลูกทุเรียนเป็นอย่างมากครับ
1. ปัญหาทุเรียนใบไหม้ ยืนตาย
เล่าสั้น ๆ แบบนี้ครับ
“พี่อดิศักดิ์” ทดลองปลูกทุเรียนที่ อำเภอคงมา 2 รอบ ผลคือตายเกลี้ยง อาการคือใบไหม้ ใบร่วงหมดต้น
รอบ 2 เห็นท่าไม่ดี ขุดบางต้นมาอนุบาลไว้ในเข่ง … เผื่อรอด … แต่ดูแววแล้วไม่น่ารอด
ก่อนจะมาหา “พี่ชัดเจน” แกไปปรึกษาร้านขายปุ๋ยขายยา 3-4 แห่ง สรุปเหมือนกันหมดคือความชื้นไม่พอ และขาดอาหาร จัดยาจัดปุ๋ยให้มาแบบเต็มแม๊กซ์ จัดหนักจัดเต็ม “พี่อดิศักดิ์” ควักกระเป๋าเสียค่าปุ๋ยค่ายารวม ๆ แล้ว 6 หลักเข้ม ๆ ผ่านไป 2-3 อาทิตย์อาการยังไม่ดีขึ้น
แต่ดวงคนที่ไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ ยังไงก็ไม่แพ้ครับ พี่อดิศักดิ์ เห็นคลิปที่ผมสัมภาษณ์ “พี่ชัดเจน” เรื่องการปลูกต้นทองหลางน้ำ (สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม) แซมในสวนทุเรียนพอดี ไล่ดูจบทุกคลิป เกิดอยากพิสูจน์ด้วยตาตัวเอง จึงวิ่งมาดูของจริงที่ปากช่อง ตอนแรก “พี่อดิศักดิ์” กับ “พี่ชัดเจน” นัดกันวันอื่น แต่ติดธุระ เลื่อนมาวันเดียวกับที่ผมไปโดยไม่ได้นัดหมาย โดยที่ผมก็ไม่รู้มาก่อน
เรื่องมันเกิดตรงนี้ล่ะครับ
“พี่ชัดเจน” เห็นสภาพต้นทุเรียนจากรูปที่ “พี่อดิศักดิ์” ส่งมาให้ดู “พี่ชัดเจน” ประเมินจากประสบการณ์ว่าน่าจะเป็นปัญหาแบบเดียวกับที่เคยพาตัวเองหลงทางตอนที่แกเริ่มปลูกทุเรียนใหม่ ๆ ก็เลยบอกให้ “พี่อดิศักดิ์” เอาตัวอย่างดินและน้ำติดมาด้วย
เผอิญยิ่งกว่าเผอิญผมเอาอุปกรณ์วัดค่าดินค่าน้ำติดรถไปด้วย ผมเลยจับตรวจให้หมดทั้งค่า pH / TDS และค่าเกลือ
2. ต้นตอของปัญหาทุเรียนใบไหม้
ผลตรวจทำให้ “พี่อดิศักดิ์” แทบตกเก้าอี้ครับ
แบคกราวนด์ของ “พี่อดิศักดิ์” เคยทำน้ำดื่มขายมาก่อน เรื่องคุณภาพน้ำกับแก คือของเคยมือ แกตรวจค่า pH รวมทั้งชิมน้ำด้วยตัวเอง แกมั่นใจว่าน้ำในสวนของแกไม่มีปัญหาเรื่องเค็ม เหมือนที่หลายคนเข้าใจผิดครับ ค่า pH ที่เป็นด่างกับค่าเกลือเป็นคนละเรื่องครับ ย้ำว่าคนละเรื่อง คนละประเด็น ในเคสของ “พี่อดิศักดิ์” ก็เช่นกัน เราไม่สามารถเอาค่า pH ไปตอบเรื่องที่นอกเหนือจากเรื่องกรดด่างได้ เพราะตัวที่นำมาใช้วัดเป็นคนละตัวกัน
โปรดฟังอีกครั้ง ... ดินหรือน้ำที่มีค่า pH สูง (Alkaline) ไม่ใช่ดินเค็ม (Salinity) เสมอไป
ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับค่าความเป็นด่าง และค่าความเค็ม พร้อมเหตุผลทำไมคนทำเกษตรถึงจำเป็นต้องวัดค่า pH และค่าความเค็มของดิน - น้ำ วัดเฉพาะกรด่างหรือค่า pH อย่างเดียวไม่ได้
ตัวเลขจากตัวอย่างของน้ำที่ใช้รดทุเรียน เป็นกลาง 7 บวกนิด ๆ แต่ค่าเกลือพุ่งไป 1 แก่ ๆๆๆๆๆ (ppt) ซึ่งสูงกว่าทุเรียนรับได้ (.20 ppt) มาก หมายความว่าน้ำมีค่าเกลือสูง ผลคือทุเรียนไม่สามารถดูดน้ำเข้าสู่ลำต้นได้ ทุเรียนจึงขาดน้ำ ใบเลยแห้ง ใบเลยไหม้ … ไม่ใช่เพราะดินขาดความชื้น พอเห็นตัวเลข “พี่อดิศักดิ์” ยอมรับว่าแกประมาทไปหน่อย ไม่ได้วัดค่าดินค่าน้ำอย่างละเอียดก่อนปลูก ทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ยิ่งไปเจอคำแนะนำจากร้านขายปุ๋ยขายยาที่อยากขายสินค้าของตัวเองอยู่แล้ว ยิ่งเข้ารกเข้าพงไปกันใหญ่
นี่เป็นสาเหตุที่ทำไม IFARM ถึงพยายามย้ำบ่อย ๆ ว่าจะลงทุนปลูกอะไร ต้องวัดค่าดินวัดค่าของน้ำเสียก่อน ในมุมมองของเรา Business Model คือกระดุมเม็ดแรก ส่วนการวัดค่าดิน-น้ำคือกระดุมเม็ดที่ 2 ที่ต้องติดให้เรียบร้อยก่อนควักเงินออกจากกระเป๋า
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
Advertising Area | พื้นที่ประชาสัมพันธ์
การเจอด้วยบังเอิญระหว่างผมกับ “พี่อดิศักดิ์” จึงช่วยแกเซฟเงินได้ไปหลายหมื่น เพราะว่าแกเตรียมจะสั่งต้นทุเรียน lot ใหม่มาปลูก งวดนี้กะเอาต้น 3 เมตรมาปลูกเลย (คิดว่าน่าจะแข็งแรงกว่าต้นเล็ก) พร้อมทั้งเตรียมสั่งปุ๋ยสั่งยา lot ใหญ่มาอัดใส่ต้นทุเรียนเพิ่มอีก
การเจอด้วยบังเอิญระหว่างผมกับพี่อดิศักดิ์จึงช่วยแกเซฟเงินได้ไปหลายหมื่น เพราะว่าแกเตรียมจะสั่งต้นทุเรียน lot ใหม่มาปลูก งวดนี้กะเอาต้น 3 เมตรมาปลูกเลย (คิดว่าน่าจะแข็งแรงกว่าต้นเล็ก) พร้อมทั้งเตรียมสั่งปุ๋ยสั่งยา lot ใหญ่มาอัดใส่ต้นทุเรียนเพิ่มอีก
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
3. การแก้ไขปัญหา
ดีใจกับทางออกยังไม่ทันสุดที่ได้แนวทางกลับไปแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับค่าของดินน้ำ-น้ำ รวมทั้งจะนำ “ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม” ไปปลูกแซม เพื่อช่วยปรับสภาพดิน และสภาพแวดล้อม แกยังมาดีใจอีกต่อเมื่อรู้ว่าผมเพิ่งไปถ่ายทำปุ๋ยไม่กลับกองของ “คุณปอนด์” (เจ้าของปุ๋ยคืนดี) ที่โคราชมา เพราะว่าพ่อของคุณปอนด์กับแกเป็นเพื่อนสนิทกัน
โลกมันกลมแบบไม่น่าเชื่อครับ
เลยยิ่งคุยกันถูกคอ
“พี่อดิศักดิ์” บอกว่าในอำเภอคง ยังไม่มีใครปลูกทุเรียนได้ แกอยากเป็นคนแรกที่ปลูกได้ ถ้าแกปลูกได้ แกจะเอาความรู้และเอากิ่งพันธุ์ทุเรียนไปแจกให้ชาวบ้านปลูก
ดินดีขึ้น ใช้ปุ๋ยน้อยลง กำไรมากขึ้น
จำหน่ายต้นกล้า "ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม" เพาะเมล็ด สูงประมาณ 30 ซม. ปลูกเป็นพิชแม่นม / พืชพี่เลี้ยงในสวนทุเรียน ผลไม้และไม้เศรษฐกิจต่าง ๆ ช่วยเพิ่มธาตุอาหาร อินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ในดิน
ลดต้นทุน & เพิ่มผลผลิตสวนทุเรียนด้วยต้นทองลหางน้ำ
พลาดไม่ได้กับแนวคิดและเทคนิคการใช้ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม ในการเป็นพืชพี่เลี้ยงให้กับต้นทุเรียน และผลไม้ต่าง ๆ พร้อมกับการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ ในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้สวนทุเรียน โดย อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธุ์ และคุณชัดเจน ราชคฤห์ เจ้าของสวนทุเรียนนายชัดเจน .... พลาดไม่ได้
ผมก็เลยเชียร์ต่อ ถ้าให้ชาวบ้านปลูกบ้านละ 3-5 ต้น ก็น่าจะดันเป็นท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้เลย ซึ่งเผอิญไปตรงกับสิ่งที่น้องชายของ “พี่อดิศักดิ์” ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นน้ำดีมอง ๆ ไว้เหมือนกัน
ผมมั่นใจว่า “พี่อดิศักดิ์” ทำได้แน่นอน เพราะ “พี่ชัดเจน” ที่ตอนนี้ได้สร้าง “ชัดเจน โมเดล” เพื่อใช้เป็นแนวทางให้คำปรึกษาสำหรับมือใหม่ที่ต้องการจะปลูกทุเรียนแบบมีพี่เลี้ยงคอยนำทาง ก็พร้อมให้คำแนะนำทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการใช้ “ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม” เป็นพืชพี่เลี้ยง / พืชแม่นม เพื่อสร้างดิน และสภาพแวดล้อมโดยรวมให้เหมาะสมกับ “ต้นทุเรียน” รวมทั้งจะมีการใช้ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ” ควบคู่ไปด้วย
ก่อนกลับ “พี่อดิศักดิ์” บีบมือผมแน่น ชวนให้ผมไปเที่ยวที่สวนของแก (เอามะม่วงกับข้าวมันไก่มาล่อ) ผมเลยขอแกไปว่าผมจะขอไปถ่ายทำตอนแกแก้ไขปัญหาจนประสบความสำเร็จแล้ว… ขอเป็นคนแรกด้วย ห้ามคนอื่นเข้าไปก่อน 555
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View