ใน “การให้น้ำทุเรียน” มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลายประการ โดยเฉพาะค่าความเค็มของน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียน เพราะค่าความเค็มจากน้ำกร่อยส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของดินหลายประการ ทั้งในเรื่องค่ากรดด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity, EC) อัตราการดูดซับเกลือของดิน (Salt Absorbtion Ratio, SAR) ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ต่อต้นทุเรียน เช่น ใบร่วง ใบไหม้ ทุเรียนตาย
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 7 นาที
Quick Navigation
บทความก่อนนี้ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องค่า pH ของน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียนเอาไว้ สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน ไม่อยากให้พลาดครับ เพราะในการปลูกทุเรียน ค่า pH ของน้ำมีความสำคัญไม่แพ้ค่า pH ของดินเลยครับ
ผมขอซ้ำเรื่องการให้น้ำทุเรียนอีกหน แต่รอบนี้ขอพุ่งประเด็นไปที่ค่าความเค็ม หรือ Salinity แบบจัดเต็มครับ
1. ค่าความเค็มของน้ำรดต้นทุเรียน
ใน “การให้น้ำทุเรียน” นอกจากเรื่องปริมาณแล้ว เจ้าของสวนทุเรียนยังต้องคำนึงถึงด้านคุณภาพของน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียนควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะค่าความเค็มครับ สาเหตุเพราะทุเรียนเป็นต้นไม้ที่ไม่ชอบความเค็มเอามาก ๆ ถ้าเจอเค็มหนัก ๆ จะออกอาการ ทั้งใบที่แตกยอดจะใบเล็กและไม่สมบูรณ์ ใบร่วง ใบไหม้ สุดท้ายจะยืนต้นตาย
ด้วยเหตุนี้ เจ้าของสวนทุเรียนต้องคอยตรวจเช็ค อย่าปล่อยให้ดิน และน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียนมีค่าความเค็มสูงเกินกว่าที่ต้นทุเรียนรับได้ ยิ่งในหน้าแล้ง ยิ่งต้องเพิ่มการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษครับ
ค่าความเค็มของน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียน ควรอยู่ไม่เกิน .20 ppt สำหรับต้นขนาดเล็ก ถ้าเป็นทุเรียนขนาดใหญ่ ยังพอกัดฟันทนได้ถึง .30 ppt ครับ
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
2. ผลกระทบของความเค็มของน้ำต่อต้นทุเรียน
เนื้อหาในส่วนนี้ผมขอหยิบงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” มาอธิบายประกอบ จะได้เห็นภาพแบบวิทยาศาสตร์ มีที่มาที่ไป
งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อหาคำตอบว่าน้ำในเขตจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมักประสบปัญหาเรื่องน้ำกร่อย (น้ำที่มีความเค็ม) เป็นประจำมีผลกระทบต่อคุณสมบติของดินปลูก และต้นทุเรียนอย่างไรบ้าง และมีระดับความรุนแรงขนาดไหน ? ผมอ่านแล้ว มีข้อมูลน่าสนใจหลายจุด ขออนุญาตนำมาย่อยให้เข้าใจง่าย ๆ สไตล์ “ไอฟาร์ม” กันนะครับ
2.1 วิธีการวิจัย
เขาใช้ “ต้นทุเรียน” พันธุ์ก้านยาวเสียบยอด ความสูงประมาณ 90 – 100 ซม. เป็นตุ๊กตา ปลูกโดยใช้ดินสำเร็จผสมปุ๋ยคอกในอัตรา 1:1 ใส่ในกระถางที่มีถาดรองน้ำ (เส้นผ่านศูนย์กลางของกระถาง 12 นิ้ว) เก็บไว้ในเรือนปลูก หลังจากนั้น ทำการรดน้ำ 1000 มล. / ต้น ทุก ๆ 2 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียนในงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นน้ำปกติที่ใช้อยู่ในสวน ไม่ได้เติมสารอะไรลงไป ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นน้ำที่มีการผสมเกลือแกง หรือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลงไป 4 ระดับความเข้มข้น (0.2 ppt, 0.5 ppt, 1.0 ppt และ 2.0 ppt)
Note ในใจเอาไว้นิดนะครับ น้ำปกติที่ใช้อยู่ในสวนที่ไม่มีการเติมโซเดียมคลอไรด์ลงไปแต่อย่างใด เมื่อนำไปวัดค่าความเค็ม มีค่าอยู่ที่ 0.07 ppt ท้าย ๆ มีเฉลยว่าน้ำปกติที่ใช้อยู่เป็นประจำส่งผลในแง่ไหนบ้าง
ดูแลค่า pH ดินและน้ำ ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าที่ต้นตอ
ดินและน้ำที่มีค่า pH ต่ำมาก (ต่ำกว่า 5.00 pH) เอื้อให้เชื้อโรคและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายเจริญเติบโตและขยายจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
2.2 ผลกระทบของโซเดียมคลอไรด์ต่อค่า pH ดินปลูกทุเรียน
คุณสมบัติของดินคุณสมบัติแรกที่ทีมวิจัยทำการทดสอบ คือ ค่า pH หรือกรดด่างของดิน
เมื่อผ่านไป 8 สัปดาห์ ผลออกมาเป็นแบบนี้ครับ
จากข้อมูลในตาราง จะพบว่าการรดน้ำที่มีโซเดียมคลอไรด์ (ทั้งน้ำปกติ และน้ำที่ Set ขึ้นมาตามระดับความเข้มข้น) มีผลให้ค่า pH ของดินปลูกทุเรียนอยู่ระหว่าง 7.00 – 7.17 pH ซึ่งค่าดังกล่าวสูงกว่าค่า pH ที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน (5.5 – 6.5 pH) ทั้งหมด
หมายความว่า “การให้น้ำทุเรียน” ด้วยน้ำที่ความเค็มไปเรื่อย ๆ จะมีผลทำให้ค่า pH ในดินปลูกทุเรียนปรับสูงขึ้น เป็นด่างมากขึ้น สุดท้ายจะเกิดปัญหาปวดหัวระดับไมเกรนหลายอย่างตามมา ถ้าอยากรู้ว่าจะปวดแค่ไหน ก็ตามอ่านได้ที่บทความด้านล่างนี้นะครับ
ค่า pH ของดิน ถือเป็นเรื่องที่คนทำเกษตรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ สำคัญพอ ๆ กับเรื่องความชื้น อุณหภูมิ และอากาศเพราะค่า pH ในดิน หรือความเป็นกรดด่างที่มาก หรือน้อยเกินไปจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของพืช รวมทั้งผลกำไร-ขาดทุนเป็นอย่างมากครับ ต่อไปนี้คือ 5 ข้อเกี่ยวกับค่า pH ในดินที่ “คุณ” ต้องรู้
ค่า pH หรือกรดด่างในดินมีผลกระทบต่อธาตุอาหาร ทั้งธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองที่ทุเรียนจำเป็นต้องใช้ นอกจากนี้ ค่า pH ดินปลูกทุเรียน ที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนยืนต้นตายจากโรครากเน่าโคนเน่า และขาดน้ำอีกด้วย
2.3 โซเดียมคลอไรด์ค่า EC ดินปลูกทุเรียน
ก่อนอื่นขอขยายความ “ค่า EC” กันก่อน สมาชิก “ไอฟาร์ม” หลายท่านอาจจะยังไม่คุ้น
EC ย่อมาจาก Electrical Conductivity หรือค่าการนำไฟฟ้า หน่วยวัดเป็น ppm เป็นวิธีการหาค่าความเค็มแบบหนึ่ง ค่า EC ยิ่งสูงมากเท่าไรหมายความว่าดินยิ่งเค็มมากเท่านั้น และแน่นอนเมื่อดินยิ่งเค็มก็ยิ่งส่งผลเสียต่อทุเรียนครับ
รดน้ำผ่านไป 8 สัปดาห์ ค่า EC ดินหลังอยู่ระหว่าง 3.05 – 16.46 dS/m ซึ่งเกินกว่าค่า EC ที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน คือ 0.52 – 0.65 dS/m ไปมากทีเดียว
ตัวเลขดังกล่าวชี้ชัดแบบตรงประเด็นว่าดินจะกลายเป็นดินที่ไม่เหมาะต่อการปลูกทุเรียนหากใน “การให้น้ำทุเรียน” ใช้น้ำที่มีค่าความเค็มต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ
ลดต้นทุน & เพิ่มผลผลิตสวนทุเรียนด้วยต้นทองลหางน้ำ
พลาดไม่ได้กับแนวคิดและเทคนิคการใช้ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม ในการเป็นพืชพี่เลี้ยงให้กับต้นทุเรียน และผลไม้ต่าง ๆ พร้อมกับการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ ในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้สวนทุเรียน โดย อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธุ์ และคุณชัดเจน ราชคฤห์ เจ้าของสวนทุเรียนนายชัดเจน .... พลาดไม่ได้
2.4 SAR อัตราการดูดซับเกลือของดิน
อัตราการดูดซับเกลือของดิน หรือ Salt Absorbtion Ratio (SAR) เป็นตัวบ่งชี้คุณสมบัติดินได้อีกหนึ่งตัว หากดินมีค่า SAR สูง อันนี้ไม่ค่อยดีครับ เพราะดินมีสภาวะเป็นดินเค็ม หรือด่างนั่นเอง
จำหน่ายต้นทองหลางน้ำ พืชพี่เลี้ยงทุเรียน (สายพันธุ์ทนแล้ง)
ทุกส่วนของต้นทองหลางน้ำมีประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและเพื่อนข้างเคียง เช่น รากช่วยตรึงไนโตรเจน กักเก็บความชื้น สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์สำคัญว่าปุ๋ย) ใบมีอินทรียวัตถุสูงถึง 30-40% และช่วยเพิ่มปริมาณแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมในดิน ทำให้ดินมีค่า pH ที่เหมาะสม .... อื่น ๆ อีกมากมาย (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการรดน้ำที่มีเกลือแกง หรือโซเดียมคลอไรด์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ความเข้มข้น 1.0 และ 2.0 ppt จะมีการสะสมและดูดซับเกลือไว้ในดิน ส่งผลให้อัตราดูดซับของเกลือสูงขึ้น และเกิดสภาวะดินเค็ม (ดินเป็นด่าง) เมื่อดินเป็นด่าง จะส่งผลต่อความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองของต้นทุเรียน จนเกิดความเป็นพิษของโซเดียม โบรอน โมลิบนินัม ทำให้แคลเซียมและแมกนีเซียมที่ละลายในดินเกิดการตกตะกอน
2.5 โซเดียมคลอไรด์ต่อธาตุอาหารต่าง ๆ
2.5.1 อินทรียวัตถุ (Organic Matter, OM)
ในการปลูกทุเรียนให้ได้ผลดี ปริมาณอินทรียวัตถุ หรือค่า Organic Matter ควรอยู่ในช่วง 2 – 3 %
แต่จากข้อมูลในงานวิจัยพบว่าในการให้น้ำทุเรียน ทั้งน้ำปกติและน้ำที่ผสมโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ล้วนมีผลให้ค่า Organic Matter สูง (21.19 – 28.67%) ถือเป็นค่าที่สูงมากครับ ในการปลูกในแปลงจริงผลไม่น่าจะออกมาแบบนี้ ทางทีมวิจัยระบุว่าสาเหตุน่าจะมาจากดินที่ใช้ในการวิจัยเป็นดินสำเร็จผสมปุ๋ยคอก อีกทั้งระยะในการประเมินไม่เพียงพอต่อการย่อยสลาย
2.5.2 โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl)
จากตารางจะเห็นได้ชัดว่า “การให้น้ำทุเรียน” ที่มีความเค็มเจือปนอยู่ส่งผลให้ปริมาณโซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) เพิ่มสูงขึ้น ถ้าเราลองไล่ดูจะพบว่ายิ่งใช้น้ำที่มีค่าความเข้มข้นของ NaCl สูง ปริมาณของทั้ง Na และ Cl ยิ่งสูงตาม
การเพิ่มขึ้นของปริมาณ Na และ Cl ไปในทิศทางเดียวกับค่า SAR คือดินจะดูดซับเกลือไว้มาก นานวันเข้าดินจะมีสภาวะเป็นด่าง (ค่า pH สูง) ถ้าปล่อยถึงตรงนั้น บอกคำเดียวว่า “งานเข้า” เพราะดินเป็นด่างแก้ยากกว่าดินเป็นกรดเยอะครับ
2.5.3 Phosphorus (P) และ Potassium (K)
ปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (P) และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน (K) ที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียนควรอยู่ในช่วง P : 35-60 mg/kg และ K : 100-120 mg/kg
แต่จากงานวิจัยพบว่าทั้งค่า P และ K สูงเอาการครับ อันนี้น่าจะเป็นผลจากตกค้างของปุ๋ยในดินผสมสำเร็จ
2.5.4 แมกนีเซียม (Magnesium, Mg)
โดยปกติค่าที่เหมาะสมของ Mg ควรอยู่ที่ราว ๆ 250-450 mg/kg
ที่เราเห็นจากตาราง ค่า Mg มีแนวโน้มลดลงเมื่อน้ำมีค่าความเค็มมากขึ้น ทีมวิจัยระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญหากนำไปเปรียบเทียบกับต้นที่รดด้วยน้ำปกติครับ
2.5.5 แคลเซียม (Calcium, Ca)
ค่าที่เหมาะสมของ Ca ควรอยู่ที่ราว ๆ 800-1500 mg/kg
Ca มาแบบเดียวกับ Mg เลย คือมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหากนำไปเปรียบเทียบกับต้นที่รดด้วยน้ำปกติ
3. ค่า EC และความเค็มของน้ำที่ผ่านดินปลูก
อันที่จริง ทีมวิจัยยังมีการประเมินเกี่ยวกับค่า EC และค่าความเค็มของน้ำที่ผ่านดินปลูกหลังจากผ่านไป 8 สัปดาห์อีกด้วย แต่ผมขออนุญาตไม่ลึกลงเรื่องตัวเลข เอาเป็นว่าผมสรุปมาให้เสร็จ มี 2 ประเด็นตามนี้ครับ
- การให้น้ำทุเรียนที่มี NaCl ตามความเข้มข้นระดับต่าง ๆ (0.2, 0.5, 1.00 และ 2.00 ppt) จะเกิดการสะสมความเค็มไว้ในดิน และเมื่อรดน้ำไปเรื่อย ๆ จะเกิดจากชะล้างเกลือโซเดียมออกมากับน้ำส่งผลให้ค่าความเค็มของน้ำที่ผ่านดินปลูกเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์
- แม้แต่น้ำปกติ ซึ่งวัดค่าความเค็มได้ 0.07 ppt เมื่อรดต้นทุเรียนผ่านไป 8 สัปดาห์ ยังมีผลทำให้ค่าความเค็มของน้ำที่ผ่านดินปลูกเพิ่มขึ้นไปที่ 0.37 ppt
ประเด็นที่ 2 น่าสนใจนะครับ น้ำปกติที่มีความเค็มเพียงเล็กน้อยก็ทำให้น้ำที่ผ่านดินปลูกเพิ่มสูงขึ้นได้หากรดต่อเนื่องยาวนาน (ตามเงื่อนไขของการวิจัย) ข้อมูลจึงเป็นคำตอบว่าว่าทำไมเราควรว่าค่าดินและค่าน้ำเป็นประจำ
4. บทสรุปงานวิจัย
ผลที่ได้จากงานวิจัยทั้งหมดได้ข้อสรุปว่าในการให้น้ำต้นทุเรียนด้วยน้ำที่มีค่าความเค็มระดับต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดิน ทั้งค่า pH / EC / SAR และธาตุอาหารต่าง ๆ (ส่วนใหญ่) ไปในทิศทางที่แย่ลง และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะที่ความเข้มข้น 1.00 ppt และ 2.00 ppt ทำให้มีการหลุดร่วงของใบทุเรียนในสัปดาห์ที่ 8 ประมาณ 79.2 และ 100% ตามลำดับ และที่น่าตกใจ คือ แม้แต่น้ำที่ใช้ปกติในสวนซึ่งวัดค่าความเค็มได้ 0.07 ppt ยังส่งผลให้เกิดอาการใบร่วงถึง 53.9 % เลยทีเดียวครับ
5. วิธีการวัดค่าความเค็มของน้ำปลูกทุเรียน
ปกติการการวัดค่าความเค็มของน้ำใช้ 2 วิธี คือ Salinity Test และ EC Test
Salinity Test หน่วยวัดจะเป็น ppt หรือ parts per thousand (1 ใน 1,000) ถ้าใช้วิธีการนี้วัด ค่าความเค็มของน้ำที่เหมาะสมต่อต้นทุเรียนไม่ควรเกิน .20 ppt (เจ้าของสวนทุเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้)
แต่สำหรับ EC Test หรือการหาค่าการนำไฟฟ้า หน่วยวัดจะเป็น ppm หรือ parts per million (1 ใน 1,000,000) ค่า EC ของน้ำที่เหมาะสมต่อต้นทุเรียนควรอยู่ที่ 200 ppm อย่าให้เกินจากนี้ครับ
-
เครื่องวัดความเค็มน้ำ Salinity Tester Hanna HI 98319ใช้เวลาอ่านประมาณ: 1 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View -
เครื่องวัดค่า EC น้ำ และ TDS น้ำ Groline Hanna 98318ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
6. การวัดค่าความเค็มของดินปลูกทุเรียน
ในการวัดค่าความเค็มของดินเราสามารถดูจากค่าการนำไฟฟ้า หรือ Electrical Conductivity, EC ได้เช่นกัน โดยค่า EC ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียนควรอยู่ระหว่าง 0.52 – 0.65 dS/m ครับ
เครื่องที่ใช้วัดค่า EC ดิน ก็จะมีหลายแบบ ทั้งแบบที่วัดที่ดินโดยตรง หรือนำดินมาละลายน้ำก่อน จะใช้รุ่นไหนก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละท่าน
ถ้าจะให้แนะนำ ก็ 2 รุ่นนี้ครับ เป็นรุ่นที่สมาชิก “ไอฟาร์ม” ที่เป็นเจ้าของสวนทุเรียนเลือกใช้กันมากที่สุดครับ
-
เครื่องวัด EC ในดินแบรนด์ Shinwa (ญี่ปุ่น)ใช้เวลาอ่านประมาณ: 1 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
4,790 ฿4,590 ฿Add to cartQuick View -
เครื่องวัดค่า EC ในดิน โดยตรง GroLine Hanna HI 98331ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
Add to cartQuick View
7. วิธีป้องกันและแก้ปัญหาน้ำกร่อย / น้ำเค็มรุกสวนทุเรียน
- วัดค่าความเค็มของน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะสวนทุเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำทะเลหนุน และใช้น้ำจากแม่น้ำ หรือแหล่งธรรมชาตินอกสวน
- สำรองน้ำให้พอเพียงไว้ล่วงหน้า
- สร้างแนวป้องกัน / คันดินไม่ให้น้ำเค็มเข้าร่องสวน
- ลอกเลนตามร่องสวนออก เพื่อเพิ่มพื้นที่การเก็บกักน้ำและดึงน้ำจากดินชั้นล่างให้ไหลออกมา
- ดูแลตัดแต่งกิ่งที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดการคายน้ำของต้นทุเรียน
- ใช้วัสดุคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน เช่น หญ้า ตอต้นกล้วย
- จัดหาแหล่งน้ำสำรอง เพื่อเก็บน้ำจืดจากแม่น้ำหรือกักเก็บน้ำธรรมชาติ หรือขุดบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ (กรณีนี้ต้องวัดค่าน้ำจากแหล่งที่เอามาใช้ด้วยเช่นกัน)
- กรณีน้ำเค็มเข้าสวนแล้วให้รีบระบายน้ำเค็มออกจากแปลงปลูกให้หมดโดยเร็ว แล้วจัดหาน้ำจืดมาให้แก่ต้นทุเรียน
8. การแก้ปัญหาน้ำกร่อย (กรณีศึกษา)
8.1 กรณีศึกษา 1: ป้าต้อย สวนทุเรียน 4 ไร่ จ. นนทบุรี
ป้าต้อย เจ้าของสวนทุเรียน 4 ไร่ จ. นนทบุรี ปลูกทุเรียนกว่า 150 ต้น พร้อมผลไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิด
แกทำสวนมากว่า 40 ปี แล้วครับ ผ่านร้อนผ่านหนาวนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมใหญ่ และปัญหาน้ำกร่อยจากน้ำทะเลหนุน
อ่านจากบทสัมภาษณ์ ผมประทับใจความคิดแบบป้าต้อย ดูแกเป็นชาวสวนแบบนักวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาที่ต้นตอ ไม่เดาสุ่ม ไม่เชื่อตาม ๆ กันมาโดยไม่รู้สาเหตุ สำหรับปัญหาน้ำเค็ม ป้าต้อยป้องกันด้วยการกักเก็บน้ำฝนไว้ในบ่อและตามร่องสวนไว้ล่วงหน้า และเมื่อเริ่มมีปัญหาเรื่องความเค็มของน้ำ ป้าต้อยเป็นอันต้องหยิบเอาเครื่องวัดค่าความเค็ม หรือ Salinity Tester มาตรวจเช็คแบบถี่ ๆ ถ้าค่าความเค็มเกิน limit ที่เหมาะสมต่อต้นทุเรียน แกจะเปิดน้ำประปาลงไปผสมกับน้ำที่กักเก็บไว้เพื่อเจือจางค่าความเค็มให้เบาบางลง โดยก่อนนำไปรดต้นทุเรียนและผลไม้อื่นที่ปลูกไว้ ป้าต้อยจะวัดค่าความเค็มของน้ำทุกครั้ง และแม้แต่น้ำประปาที่เอามาผสม ป้าต้อยย้ำว่าควรนำมาวัดค่าความเค็มด้วย เพราะหากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาต่ำมาก ๆ น้ำประปาก็อาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย เรียกว่าเอาให้ชัวร์ ตัดสินใจจากเครื่องมือวัด แทนการใช้ความรู้สึก
8.2 กรณีศึกษา 2: คุณบุษบา นาคพิพัฒน์ จังหวัดจันทบุรี
ผมมีโอกาสเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของเทคโนโลยีชาวบ้าน เจอเคสของคุณบุษบา น่าสนใจดี ขออนุญาตหยิบมาเล่าต่อ
คุณบุษบา เป็นเจ้าของสวนทุเรียน 12 ไร่ อยู่ที่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เดิมทีพื้นที่ตรงนี้เป็นมรดกที่คุณพ่อสามียกให้ เวลายกให้ก็กำชับเวลาจะปลูกจะทำอะไรต้องระวังให้ดี เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำเค็ม ตอนนั้นคุณบุษบาและสามีไม่มีประสบการณ์ในการทำเกษตรมาก่อน ยังมองภาพไม่ออกว่าน้ำเค็มจะมีผลกระทบอะไร จนเมื่อเริ่มปลูกต้นทุเรียนจึงเริ่มเห็นปัญหา ทุเรียนเริ่มเกิดปัญหาใบไหม้และยืนต้นตาย
นับแต่นั้นเป็นต้นมา คุณบุษบาจึงพยายามหาวิธีสู้กับน้ำเค็มน้ำกร่อยเรื่อยมา จนในที่สุดก็เอาชนะได้ และกลายมาเป็นสวนทุเรียนน้ำกร่อยที่อร่อยติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ
การต่อสู้กับน้ำเค็มของคุณบุษบาสรุปออกมาได้ 3 แนวทางครับ
1.ตรวจวัดค่าความเค็ม
ในมุมมองของผม ผมว่าคุณบุษบา และป้าต้อยเหมือนกันเป๊ะเลยครับ คือเชื่อข้อมูลมากกว่าความรู้สึกตัวเอง ใช้เครื่องวัดค่าความเค็มอย่างสม่ำเสมอ เธอย้ำว่าเกษตรกรต้องมีความใส่ใจและหมั่นวัดค่าความเค็มของน้ำเป็นประจำ และเรื่องน้ำคือต้องรู้จังหวะน้ำด้วยว่าน้ำจะเค็มเมื่อไร
“ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการปลูกทุเรียนในพื้นที่น้ำกร่อยคือ น้ำที่มีความเค็มจะไปบล็อกธาตุอาหารบางส่วน ทำให้พืชไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารได้เต็มที่ และด้วยความเค็มของน้ำ จะมีคลอไรด์ มีไนโตรเจนอยู่แล้ว เมื่อใส่ปุ๋ยเข้าไปอีกพืชก็ไม่สามารถที่จะกินอาหารได้อีก
คุณบุษบา นาคพิพัฒน์
ตอนที่เริ่มมีปัญหาต้นทุเรียนใบไหม้แรก ๆ คุณบุษบาลองวัดค่าความเค็ม ปรากฏว่าวิ่งไปถึง 1 ppt
ข้อมูลนี้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ผมอธิบายไว้ด้านบน คือ ทุเรียนจะมีปัญหาใบร่วงและใบไหม้ระดับรุนแรงหากน้ำมีค่าความเค็มตั้งแต่ 1 ppt ขึ้นไป
ผมก็ย้ำเหมือนที่คุณบุษบาย้ำ คนทำเกษตรยุคนี้ต้องตัดสินใจแบบวิทยาศาตร์ วัดค่าต่าง ๆ แล้วตัดสินใจแก้ปัญหาตามข้อมูลที่ได้ ถ้าไม่รู้ว่าต้นตอของปัญหาอยู่ที่ไหน ความรุนแรงระดับไหน ยิ่งแก้ยิ่งกลายเป็นวัวพันหลักครับ
2. ใช้ธรรมชาติสู้กับธรรมชาติ
เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า เลิกเผา เปลี่ยนมาใช้วิธีตัดแทน เศษวัสดุเศษใบไม้กิ่งไม้ไมทิ้ง ไม่ทำลาย เก็บสะสมไว้ในสวน
แนวคิดนี้สอดคล้องกับสิ่งรายงานของ Tejada และคณะ (2006) ที่พบว่าการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินสามารถช่วยลดความเค็มของดินได้
นอกจากนี้ คุณบุษบายังแนะนำให้ปลูกต้นกล้วยเพราะเป็นพืชที่ช่วยดูดซับความเค็มได้เป็นอย่างดี หรือปลูกต้นมังคุดเสริม เพราะมังคุดทนความเค็มได้ แถมยังช่วยดูดซับน้ำก่อนไปถึงรากของต้นทุเรียน
3. เลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม
เรื่องปุ๋ย คุณบุษบาเล่าว่าเนื่องจากในน้ำกร่อยจะมีคลอไรด์และไนโตรเจนอยู่แล้ว คุณบุษบาจึงเลือกใช้ปุ๋ยที่มีแคลเซียมไนเตรต คือสูตร 15-0-0 อย่างเดียว ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยไปได้เยอะ
9. มุมมองของผู้เขียน
ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณทีมวิจัยจากใจจริงที่เลือกวิจัยหัวข้อที่เป็นประโยชน์ต่อชาวสวนทุเรียนเป็นอย่างมาก ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการให้น้ำต้นทุเรียนในเชิงคุณภาพได้อย่างกระจ้าง อย่างไรก็ดี ผมขออนุญาตเพิ่มมุมมองส่วนตัวฝากให้สมาชิก “ไอฟาร์ม” ทุกท่านไปขบคิดกันต่อ เพื่อให้เนื้อหาในบทความนี้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำไปปฏิบัติ
1. งานวิจัยทุกชิ้นทำอยู่ภายใต้เงื่อนไข / สภาพแวดล้อมที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่างในงานวิจัยนี้ เช่น
* ต้นทุเรียนพันธุ์ก้านยาว เสียบยอด สูง 90-100 ซม
* ใช้ดินผสมสำเร็จร่วมกับปุ่ยคอกในอัตรา 1: 1
* ปลูกในกระถาง เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว
* ดูแลอยู่ในเรือนปลูก
* รดน้ำด้วยความเข้มข้นของเกลือ 4 ระดับ ปริมาณ 1000 มล/ต้น รดทุก 2 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
ข้อมูลตัวเลขของงานวิจัยที่ออกมาทั้งหมดจึง Base บนเงื่อนไขเหล่านี้
หากเรานำไปปฏิบัติจริง ค่าที่ได้ หรือบทสรุปอาจจะไม่เหมือนกับงานวิจัยชิ้นนี้ เพราะมีตัวแปรต่างกัน เช่น หากทุเรียนที่เราปลูกอยู่ใหญ่กว่านี้ ก็อาจจะทุนความเค็มได้ดีกว่าทุเรียนขนาดเล็กที่ใช้ในงานวิจัย อัตราการร่วงของใบอาจไม่สูงเท่าในงานวิจัย
2. เราควรทำความเข้าใจที่มาที่ไปของข้อมูลในงานวิจัยและนำไปเป็น Guideline เพื่อปรับใช้ในภาคปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของแต่ละคน
3. การเข้าใจสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของตัวเองจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก คนทำเกษตรทุกคนจำเป็นต้องมี “ข้อมูลพื้นฐาน” ของตัวเอง เช่น สภาพดิน / สภาพอากาศ / ค่า pH ดิน / pH น้ำ / ค่า EC น้ำ / ค่า EC ดิน / อุณหภูมิ / ความชื้น และอื่น ๆ
4.หลังจากนั้นควรจะมีข้อมูลค่ามาตรฐานที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก เพื่อนำข้อมูลของตัวเองปรับเข้าหาค่ามาตรฐาน
5. ดังนั้น การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จจึงควรทำอยู่บนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ใช่การปฏิบัติตามกันมาโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งนี้เพราะตัวแปรของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 100%
เอกสารอ้างอิง:
Effect of Salinity Stress on Chaning of Soil Properties and Falling Leaves of Durian cv. Kan Yao
หมายเหตุ: เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอ และอื่น ๆ ในบทความนี้และในเว็บไซต์ทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ “บริษัท ไอฟาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ห้ามลอกเลียน ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางใดทางหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View
-
-5%Add to cartQuick View