หลังจากที่ IFARM ได้จุดกระแสให้ “ต้นทองหลางน้ำ” กลับมาเป็นที่นิยมปลูกกันมากขึ้นอย่างกว้าง ในฐานะพืชแม่นม / พืชพี่เลี้ยงในสวนทเุรียน หรือไม้เศรษฐกิจอื่น ๆ ทำให้มีการจำหน่ายทั้งต้นกล้า / กิ่งทองหลางน้ำกันอย่างคึกคัก ซึ่งแต่ละคนก็พยายามสร้างจุดเด่นจุดขายของตัวเอง จนคนที่ต้องการซื้อไปปลูกเกิดความสับสนว่าพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกควรเป็นสายพันธุ์ไหนกันแน่ … วันนี้ IFARM ขออาสาไขข้อข้องใจให้ทุกคนเองครับ
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 4 นาที
Quick Navigation
ต้องยอมรับว่าข้อมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับ “ต้นทองหลางน้ำ” หรือ Erythrina variegate Linn. ที่เผยแพ่สู่สาธารณชนยังมีไม่มากพอ ส่วนใหญ่เป็น “ภูมิปัญญา” ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นกันเสียมากกว่า
เชื่อนะเชื่อว่ามันดี แต่มันดีเพราะอะไร หลายคนอยากจะรู้ตรงนี้มากกว่า
ในงาน Meet & Seed รวมพลังสร้างคุณค่าต้นทองหลางน้ำ อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ (ผู้คิดค้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ) ท่านได้พูดถึง Secondary Metabolites ในต้นทองหลางน้ำ ก้านแดงมีหนาม ไว้อย่างน่าสนใจ
ประสาคนอยู่ไม่สุขครับ … วันนั้นฟัง อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ บรรยายเสร็จ (ขอเมาท์หน่อย คนอะไรสอนเรื่องเกษตรได้โคตรสนุก มันส์มากกกก … วันหน้าต้องเชิญอีก) ผมก็เลยกลับมาหาข้อมูลเพิ่มเติม
วันนี้ขอหยิบส่วนหนึ่งมาแชร์ให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ สมาชิก IFARM ได้อ่านกันเพลิน ๆ
ส่วนท่านใดอยากฟังการบรรยายเต็ม ๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ
สารทุติยภูมิ
สารทุติยภูมิ หรือ Secondary metabolites คือสารประกอบทางเคมีที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมา
“สารทุติยภูมิ” ไม่ได้มีบทบาทโดยตรงต่อการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ หรือการดำรงชีวิตพื้นฐานของพืช แต่สารพวกนี้กลับมีความสำคัญในด้านอื่น ๆ เช่น การป้องกันจากการโจมตีของศัตรูพืช การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และการดึงดูดแมลงหรือสัตว์ที่มีส่วนในการผสมเกสร
เล่าแบบนี้ก่อนครับ พืชเขาไม่เหมือนกับคนหรือสัตว์ต่าง ๆ ตรงที่เขาเดินหรือวิ่งไปไหนมาไหนไม่ได้ เวลาเจอศัตรู คนและสัตว์ยังวิ่งเพ่นได้ แต่พืชได้แต่ยืนนิ่ง ๆ ด้วยเหตุนี้ธรรมชาติจึงเสกให้พืชมีรูปแบบการป้องกันตัว (Plant Defense) เฉพาะตัวขึ้นมา
อย่าทำสวนทุเรียนด้วย "การเดา"
คนทำสวนที่ประสบความสำเร็จมักตัดสินใจทำอะไรหรือไม่ทำอะไรจากข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ เพราะสิ่งที่แตกต่างระหว่างการตัดสินใจจาก "ความรู้สึก" และ "ข้อมูลที่แม่นยำ" คือ "กำไร" และ "เวลา" ที่สูญหายไป
การป้องกันตัวของพืช
ซึ่งโดยปกติแล้วพืชจะมีการต่อสู้ (Plant Defense) อยู่ 2 แบบครับ
1) คือการต่อสู้ทางกายภาพ (Physical Defense)
พืชหลายชนิดมีโครงสร้างที่ช่วยป้องกันศัตรู เช่น การเปลือกที่หนา ผิวที่แข็ง มีหนามที่ลำต้น กิ่งก้าน มีขนที่ใบ กับดักเหนียว และอื่น ๆ
2) การต่อสู้ด้านเคมี (Chemical Defense)
ตรงนี้ยังแยกย่อยไปได้อีก 3 ระดับครับ
2.1 สารเคมีป้องกัน (Defensive chemicals)
พืชสามารถสังเคราะห์สารเคมีที่มีฤทธิ์ในการขับไล่ศัตรูพืชหรือสัตว์ เช่น alkaloids, phenolics, และ terpenoids สารเหล่านี้อาจมีรสขม กลิ่นฉุน หรือมีพิษต่อศัตรู ตัวอย่างเช่น สาร nicotine ในยาสูบ ซึ่งเป็นพิษต่อแมลง
2.2 สารทุติยภูมิ (Secondary metabolites)
หัวข้อนี้คือสิ่งที่เราจะขยายความกัน
2.3 การสื่อสารเคมีระหว่างพืช (Chemical communication between plants)
พืชบางชนิดสามารถปล่อยสารเคมีออกมาเมื่อถูกโจมตี เพื่อเตือนพืชใกล้เคียงให้เพิ่มการผลิตสารป้องกันตัวเอง กระบวนการนี้เรียกว่า “การสื่อสารเคมีระหว่างพืช” (Plant-to-Plant Communication)
ถอดความออกมาได้ว่า "สารทุติยภูมิ" คือหนึ่งในระบบป้องกันตัวของพืชนั่นเองครับ
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
ถึงตรงนี้ ผมคิดว่าสมาชิก IFARM หลาย ๆ คนน่าจะอยากรู้ก็คือไอ้เจ้า “สารทุติยภูมิ” มันมีประโยชน์อะไรบ้างใช่ไหมครับ
ประโยชน์ของสารทุติยภูมิ
แน่นอนว่ามันมีประโยชน์กับพืชเอง หลัก ๆ 3 เรื่อง
- ป้องกัน – พวกมันช่วยป้องกันพืชจากแมลงและสัตว์ที่กินพืช
- แต่งกลิ่นและสีสัน – มีบทบาทในการดึงดูดผึ้งและแมลงอื่นๆ มาช่วยผสมเกส
- ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม – ช่วยพืชปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การป้องกันตัวจากการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ
แต่ไม่ใช่เท่านั้นครับ "สารทุติยภูมิ" ยังมีบทบาทในการป้องกันโรคในพืช และบางชนิดยังถูกนำมาใช้ในการผลิตยาและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรมและอาหารเสริมอีกด้วย
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพสัก 2-3 ตัวครับ
- ว่านหางจระเข้ : Aloin – สารที่พบในวุ้นของต้นหางจระเข้ มีสรรพคุณในการรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
- ใบบัวบก : Asiaticoside – กลุ่มของสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการเสริมสร้างการสร้างคอลลาเจนในผิวหนัง ช่วยในการรักษาแผลและลดริ้วรอย
- ต้นกระท่อม : Mitragynine – อัลคาลอยด์หลักที่พบในต้นกระท่อม มีผลต่อระบบประสาท เช่น การลดความเจ็บปวด, ส่งเสริมความสงบ, และอาจมีผลต้านการอักเสบ
วิธีการดูสารทุติยภูมิ
คำถามตามมา แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าพืชตัวไหนมี “สารทุติยภูมิ” ที่สำคัญบ้าง
คำตอบ ค้น Google หรือถาม Ai เอาครับ … ฮ่าา
ไม่อย่างนั้นก็ต้องวิเคราะห์ทางเคมี หรือสังเกตเชิงพฤติกรรมเอาครับ ดูว่าพืชมีปฏิกิริยาต่อศัตรูพืชหรือสิ่งแวดล้อมอย่างไร เช่น มีความต้านทานต่อแมลงหรือไม่ มีการดึงดูดแมลงผสมเกสรหรือไม่ เป็นต้น หรืออีกอย่างก็สังเกตจากกายภาพของพืชนั้น ๆ (… สี หนาม หรือขน….)
เอาที่ทุกคนน่าจะคุ้น ๆ กันดี
ย่านางแดง vs. ย่านางเขียว —> แดงมี “สารทุติยภูมิ” เยอะกว่าเขียว ด้วยเหตุนี้เวลาทำยาเขาก็มักให้เลือกใช้ “ย่านางแดง” มากกว่า
หรือกรีนโอ๊คกับเรดโอ๊ค สารอาหารก็ยังแตกต่างกันเลยครับ (อันนี้ได้จากครูแหม่มมา)
พอเห็นภาพนะครับ
แม้สีและหนามสามารถบ่งบอกถึงการมีอยู่ของ "สารทุติยภูมิ" ในพืชได้ แต่ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่ามันไม่ใช่ตัวบ่งชี้โดยตรง ... ย้ำว่าไม่ใช่โดยตรง
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
อยากให้ Remark ไว้นิดครับ
แม้สีและหนามสามารถบ่งบอกถึงการมีอยู่ของ “สารทุติยภูมิ” ในพืชได้ แต่ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่ามันไม่ใช่ตัวบ่งชี้โดยตรง … ย้ำว่าไม่ใช่โดยตรง
หนามเองไม่ใช่ “สารทุติยภูมิ” แต่การเกิดหนามอาจเป็นผลจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ “สารทุติยภูมิ” บางชนิด เช่น สาร alkaloids ที่อาจทำให้หนามมีความเป็นพิษหรือมีรสขม ซึ่งเป็นกลไกเพิ่มเติมในการป้องกันศัตรูพืช
คือมันอ้อม ๆ มาครับ
เขียนมาซะยืดยาว เป็นกิโล เพียงแค่จะบอกว่าเวลาจะปลูกต้นทองหลางน้ำ ให้เลือกสายพันธุ์ก้านแดงและมีหนาม หรือเวลาจะทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ ก็ให้เลือกสายพันธุ์ก้านแดงและมีหนาม
ไม่มีหนาม ไม่ก้านแดงได้ไหม ???
เคาะครับ … ไม่มีคำตอบ …. ตัดสินใจเอาเอง
…. ฮ่า
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View