ดินขาดไนโตรเจนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารสำคัญในการสร้างโปรตีนและกระบวนการสังเคราะห์แสง หากดินขาดไนโตรเจน พืชมักแสดงอาการใบเหลือง พืชโตช้า หรือผลผลิตลดลง ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก 3 สัญญาณสำคัญ บทความนี้จะแนะนำวิธีตรวจสอบและเพิ่มไนโตรเจนในดินอย่างถูกต้อง เพื่อฟื้นฟูดินให้กลับมาสมบูรณ์และช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ พร้อมเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตในสวนของคุณ
ไอฟาร์มทีม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 4 นาที
Quick Navigation
ไนโตรเจน (Nitrogen, N) เป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในปริมาณมาก และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต การสร้างโปรตีน และการออกดอกของพืช หากพืชได้รับไนโตรเจนไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของพืชทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ปัญหาพืชขาดไนโตรเจนเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุครับ ตัวอย่างเช่น
- คุณภาพของดิน: ดินมีคุณภาพต่ำ ขาดโครงสร้างที่เหมาะสมหรือธาตุอาหารที่จำเป็น
- ค่า pH ดิน: ค่า pH ที่ไม่เหมาะสมทำให้ไนโตรเจนถูกล็อคเอาไว้ พืชนำไปใช้ไม่ได้
- รากไม่แข็งแรง: ระบบรากของพืชมีปัญหา เช่น รากเน่า แมลงหรือไส้เดือนฝอยกัดกินราก หรือรากเติบโตไม่เต็มที่
- การระบายน้ำไม่ดี: ดินมีน้ำขังหรือระบายน้ำช้า ส่งผลให้รากเน่าและเจริญเติบโตไม่ได้
- การระบายอากาศในดินไม่เพียงพอ: ดินมีความแน่นทึบ ทำให้อากาศไม่สามารถหมุนเวียนได้ดี ส่งผลให้รากขาดออกซิเจน
จะเห็นได้การที่พืชได้รับไนโตรเจนไม่เพียงพอไม่ได้เกิดจากปัญหาดินมีค่า N น้อยเสมอไปนะครับ ค่า pH ต่ำมากสูงมากก็ใช่ ระบบรากของพืชไม่แข็งแรงก็มีผล สภาพแวดล้อมไม่เหมาะก็เป็นปัจจัยที่อยู่ในข่ายได้เช่นกันครับ
ด้วยเหตุนี้เราจำเป็นต้องมั่นสังเกตพืชที่เราปลูกอย่างสม่ำเสมอ ในบทความนี้ IFARM จึงขอนำเสนอ 3 อาการที่บ่งบอกว่าพืชอาจกำลังขาดไนโตรเจนเพื่อให้สมาชิก IFARM ใช้เป็นจุดสังเกตกันครับ
1. อาการพืชขาดไนโตรเจน
สัญญาณที่ 1: ใบพืชเหลืองและซีด โดยเฉพาะใบล่าง
อาการ:
- ใบแก่ที่อยู่บริเวณล่างของพืชจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (Uniform Chlorosis) และซีดจนแห้งในที่สุด
- พืชบางชนิดอาจแสดงอาการทั้งต้น โดยใบทั้งหมดอาจดูซีดและไม่สดใส
สาเหตุ:
เมื่อพืชขาดไนโตรเจน พืชจะดึงไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในใบแก่ (เพราะไนโตรเจนเป็นสารอาหารที่เคลื่อนที่ได้ หรือ Mobile Nutrient) ไปเลี้ยงใบอ่อน ทำให้ใบแก่เริ่มแสดงอาการขาดสารอาหารก่อน
ตัวอย่างพืชที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน:
- อ้อย (Sugarcane): การขาดไนโตรเจนส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลลดลงถึง 30%
- ทุเรียน (Durian): ใบแก่จะเหลืองและร่วงเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อกระบวนการสะสมอาหารและขนาดผล
วิธีแก้ไขเบื้องต้น:
- เติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ยูเรีย (Urea, 46-0-0)
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้วัวหมัก เพื่อเพิ่มไนโตรเจนในดินระยะยาว
- ตรวจสอบค่า pH ดินให้เหมาะสม (pH 6-7) เพื่อช่วยให้ไนโตรเจนละลายได้ดี
สัญญาณที่ 2: การเจริญเติบโตของพืชหยุดชะงัก
อาการ:
- พืชมีการเจริญเติบโตช้า ลำต้นผอม ใบเล็ก และสีซีด
- พืชตระกูลข้าว เช่น ข้าวและข้าวโพด อาจมีความสูงลดลงหรือแตกกอได้น้อย
สาเหตุ:
ดินขาดไนโตรเจนส่งผลต่อกระบวนการสร้างโปรตีนและกรดนิวคลีอิก ซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ (Cell Division)
ตัวอย่างพืชที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน:
- ข้าว (Rice): การขาดไนโตรเจนในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูกทำให้จำนวนรวงต่อกอลดลง ส่งผลต่อผลผลิตถึง 20-50%
- พริก (Chili): ต้นพริกที่ขาดไนโตรเจนจะมีการออกดอกน้อยลง ส่งผลให้ผลผลิตต่ำ
วิธีแก้ไขเบื้องต้น:
- ใช้ปุ๋ยสูตรผสม เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อปรับสมดุลธาตุอาหาร
- ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว หรือถั่วลิสง ซึ่งสามารถช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศกลับเข้าสู่ดินได้
สัญญาณที่ 3: ผลผลิตลดลงและคุณภาพต่ำ
อาการ:
- ผลไม้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และรสชาติไม่ดี
- ใบของพืชให้ผล เช่น มะเขือเทศ หรือแตงโม อาจมีลักษณะซีดและขอบใบเหลือง
ตัวอย่างพืชที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน:
- มันฝรั่ง (Potato): หัวมันฝรั่งมีขนาดเล็กและเปอร์เซ็นต์แป้งลดลง ทำให้ไม่เหมาะต่อการแปรรูป
- องุ่น (Grape): การขาดไนโตรเจนทำให้ปริมาณน้ำตาล (Brix) ในองุ่นลดลง กระทบต่อรสชาติและคุณภาพไวน์
วิธีแก้ไขเบื้องต้น:
- ใช้ปุ๋ยหมักจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษใบไม้ หรือเศษพืชหมัก เพื่อเพิ่มไนโตรเจน
- ดูแลความชื้นในดินอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้พืชดูดซึมไนโตรเจนได้ดีขึ้น
2. การวิเคราะห์อย่างละเอียด
การตรวจสอบว่า “ดินขาดไนโตรเจน” หรือไม่ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำอย่างละเอียดและรอบคอบ เนื่องจากอาการขาดไนโตรเจนในพืช เช่น ใบเหลือง ใบซีด หรือพืชโตช้า อาจคล้ายคลึงกับอาการขาดธาตุอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม หรือแมกนีเซียม รวมถึงอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น การให้น้ำไม่สม่ำเสมอ หรือดินมี pH ที่ไม่เหมาะสม
ดังนั้น การสังเกตลักษณะของพืชอาจยังไม่เพียงพอครับ IFARM ขอแนะนำให้ดำเนินการเพิ่มเติม 2 ข้อดังนี้ครับ
2.1 พิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ควบคู่
- ความชื้นในดิน:
-
- ความแห้งแล้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชดูเหมือนขาดไนโตรเจน เนื่องจากพืชต้องการน้ำเพื่อดูดซึมสารอาหารในดิน เมื่อดินขาดน้ำ พืชไม่สามารถดูดซึมไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ใบพืชเหลืองและการเจริญเติบโตชะงัก
- การให้น้ำมากเกินไป อาจล้างไนโตรเจนออกจากชั้นดิน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำเร็วจนเกินไป เช่น ดินทราย ซึ่งไนโตรเจนมักถูกชะล้างออกไปพร้อมน้ำ ทำให้พืชขาดสารอาหารแม้ว่าดินจะดูเปียกชื้นก็ตามครับ
คำแนะนำ: ควรรักษาความชุ่มชื้นของดินให้อยู่ในระดับเหมาะสม โดยการคลุมดิน (Mulching) เพื่อช่วยลดการระเหยของน้ำ และลดความจำเป็นในการรดน้ำบ่อยครั้ง
2. ค่า pH ของดิน:
-
- ค่า pH ของดินส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการละลายและดูดซึมไนโตรเจน หาก pH ต่ำกว่า 5 (ดินเป็นกรดจัด) หรือสูงกว่า 8 (ดินเป็นด่างจัด) ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม (Ammonium) และไนเตรต (Nitrate) จะไม่สามารถละลายได้ดีในดิน ทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้
- ดินที่เป็นกรดมักพบในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก หรือการใช้ปุ๋ยเคมีที่เพิ่มความเป็นกรด เช่น ยูเรีย โดยไม่ปรับสภาพดิน
- ดินที่เป็นด่างมักเกิดในพื้นที่แห้งแล้งหรือการใช้น้ำชลประทานที่มีปริมาณเกลือสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ปลูกพืชในเขตร้อนและกึ่งแห้งแล้ง
คำแนะนำ:
- ให้วัดค่า pH ของดินด้วยเครื่องมือที่ไว้ใจได้ครับ อย่างที่เกริ่นช่วงต้นครับ หลายกรณีการที่พืชขาดไนโตรเจนไม่ได้เกิดจากกินมีไนโตรเจนน้อย แต่มักเกิดจากถูกค่า pH ล็อคเอาไว้ พืชนำไปใช้ไม่ได้ หากค่า pH ดิน แย่แต่เจ้าของสวนไม่รู้ การใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไปมีแต่สิ้นเปลือง เพราะพืชนำไปใช้ไม่ได้นั่นเองครับ ขออนุญาตขายของนิดนะครับ สำหรับสมาชิกท่านใดที่ยังไม่มีเครื่องวัดค่า pH ดิน แนะนำแบรนด์ TAKEMURA จากญี่ปุ่นของ IFARM เลยครับ …. แม่นยำ ถึกทน และใช้งานง่าย …. มีข้อมูลเรื่องดิน+น้ำแจกฟรีให้ด้วยครับ
ปลดล็อกศักยภาพดินและเพิ่มผลผลิตด้วย Takemura DM5 – เทคโนโลยีญี่ปุ่นที่คุณวางใจได้!
ด้วยการออกแบบและเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น Takemura DM5 ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือวัดค่า pH และความชื้นในดินเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้คุณจัดการปัญหาดินได้อย่างตรงจุด ด้วยความแม่นยำสูง ลดการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น ประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หลังจากวัดค่า pH ดินเรียบร้อย ถ้า pH ดินอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม (ค่าเฉลี่ยของพืชทั่วไปอยู่ที่ 6-7 pH) ก็ให้ทำการปรับปรุงดินให้เหมาะสม แนะนำให้อ่านบทความด้านล่างเพิ่มเติมครับ
3. การใช้ปุ๋ย:
-
- การใช้ปุ๋ยสูตรเฉพาะที่ไม่มีไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียม (K) หรือฟอสฟอรัส (P) อาจทำให้ดินขาดไนโตรเจนได้ เนื่องจากธาตุอาหารที่เติมเข้าไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช
- การใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องโดยไม่มีการเติมอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อาจทำให้ดินสูญเสียโครงสร้างทางชีวภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการกักเก็บไนโตรเจน
คำแนะนำ: แนะนำให้เติมปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้วัวหมัก หรือปุ๋ยหมักจากเศษพืช จะช่วยฟื้นฟูสมดุลของไนโตรเจนในดินและช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของดินในระยะยาวได้ครับ ใครอยากทำปุ๋ยคุณภาพสูงตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรด้วยต้นทุนต่ำ จะทำไว้ใช้เองในสวนหรือถึงขั้นทำขาย แนะนำให้ดู 3 คลิปนี้ครับ
คำแนะนำเพิ่มเติม
- จำนวนและความแข็งแรงของรากพืชมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด การที่พืชแตกรากไว มีรากจำนวนมากและแข็งแรง พืชย่อมดูดซึมสารอาหารได้มากตามไปด้วย ส่งผล 2 แรงบวกครับ นั่นคือประหยัดค่าปุ๋ยลงในขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ถ้าอยากให้ระบบแข็งแรง แนะนำให้ใช้ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม” ครับ ทักไปทาง LINE เพื่อขอสูตรและวิธีการทำได้เลยครับ LINE ID: @ifarm
- แนะนำให้ปลูก “ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม” ไว้เป็นพืชแม่นม หรือพืชพี่เลี้ยงในสวนครับ ต้นทองหลางน้ำคือแหล่งผลิตไนโตรเจนชั้นยอดครับ เป็นถั่วยืนต้น สูงถึง 15-20 เมตร ต้นนี้คือไม้สารพัดคุณประโยชน์ครับ สมาชิกท่านใดยังไม่รู้จักต้นทองหลางน้ำ ก็ตามไปอ่านบทความด้านล่างเอานะครับ
2.2 การตรวจค่าไนโตรเจน
ขั้นตอนที่จำเป็นและควรทำก็คือการวัดค่าไนโตรเจน หลักๆ ทำได้ 2 รูปแบบคือ
- การตรวจดิน:
คือการเช็คว่าดินของเรามีค่าไนโตรเจนเพียงพอไหม จะใช้ Soil Test Kit ก็ได้ หรือจะนำตัวอย่างดินไปส่งตรวจก็ได้ ก็มีทั้งฟรีและเสียเงินครับ ถ้าให้แนะนำ สำหรับคนที่ทำเกษตรเชิงการค้าควรส่งดินตรวจทุก 2-3 ปี ระหว่างนั้นก็ใช้ Soil Test Kit ครับ -
การวิเคราะห์ใบพืช (Leaf Analysis):
อันนี้เป็นการวิเคราะห์จากใบพืชโดยตรงเลยว่าพืชมีปัญหาขาดธาตุอาหารชนิดใด อันนี้ต้องส่งใบเข้าห้องแล็ป จริงๆ ก็พอมีเครื่องมือที่เจ้าของสวนตรวจเองได้ครับ ที่ IFARM ยังไม่มีขาย กำลังดูๆ อยู่
Advertising Area | พื้นที่ประชาสัมพันธ์ : ชุดทดสอบค่าอินทรียวัตถุ
สรุป
การเพาะปลูกที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นจาก “ดินที่มีชีวิต” การตรวจเช็คไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงช่วยเพิ่มผลผลิต แต่ยังสร้างความยั่งยืนในระบบการเกษตรของคุณในระยะยาว
การดูแลดินของคุณให้มีไนโตรเจนเพียงพอ คือการสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับฟาร์มที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีครับ
คอร์ส (ออนไลน์) เกษตรทำเงิน ถูกกว่าเดิม แถมฟรีอีกหนึ่งคอร์สเพิ่มเติม
คัดพิเศษ 5 คอร์ส (Online) Hot Hit ที่เริ่มต้นง่าย + ลงทุนน้อย + ใช้พื้นที่ไม่มาก + มีความต้องการของตลาดต่อเนื่อง สามารถทำเป็นอาชีพหลัก หรือหารายได้เสริมก็ได้ …. ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน … เรียนได้ตลอด ไม่มีหมดอายุ ปรึกษาอาจารย์ได้ และเยี่ยมชมฟาร์มได้ ... มัดรวม 5 คอร์ส รับส่วนลดกว่า 3,000.00 บาท สมัครวันนี้แถมฟรีอีกหนึ่งคอร์ส มูลค่า 490.00 บาท คุ้มสุดคุ้ม
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View