
Rhodobacter capsulatus เป็นแบคทีเรียที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งในด้านพลังงานชีวภาพ การบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการเกษตร ตัวอย่างเช่น นำมาเลี้ยงด้วย “ใบทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม” เพื่อใช้กระตุ้นการแตกของราก การทำให้พืชเค็มได้มากขึ้น ทำให้ผักมีความกรอบและอร่อยมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
วันนี้ IFARM จะพาสมาชิกทุกท่านไปดูงานวิจัยของต่างประเทศ เป็นการทดลองใช้ Rhodobacter capsulatus กับการปลูกข้าว ซึ่งในผลผลัพธ์ที่น่าพอใจ

ไอฟาร์มทีม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 2 นาที
Quick Navigation
สมาชิก IFARM ที่ได้ซื้อเชื้อ “Rhodobacter capsulatus“ ไปใช้แล้วน่าจะทราบถึงประโยชน์กันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะได้แง่ของการช่วยลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มผลผลิตทั้งในมิติคุณภาพและปริมาณ
วันนี้จึงอยากจะตอกย้ำประโยชน์และคุณค่าของ Rhodobacter capsulatus โดยการนำเสนอข้อมูลงานวิจัยการใช้ Rhodobacter capsulatus กับการปลูกข้าว
อยากให้สมาชิกค่อยๆ ย่อยข้อมูลด้านล่าง เพราะมี Key of Keywords อยู่หลายจุด สามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายครับ
การวิจัย
ทดลองใช้ Rhodobacter capsulatus ฉีดเชื้อลงในต้นกล้าข้าว 4 สายพันธุ์ (Giza 159, 171, 176, 181) ที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีไนโตรเจน ผลการทดลองหลัง 3 สัปดาห์พบว่าต้นกล้าที่ได้รับเชื้อจุลินทรีย์มีการเจริญเติบโตดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
วิธีการทดลอง
- สายพันธุ์ข้าวที่ใช้: Giza 159, 171, 176, และ 181 (เป็นข้าวที่นิยมในอียิปต์)
- การปลูก: ใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือน มีทั้งกลุ่มที่ไม่มีไนโตรเจน และกลุ่มที่ไม่มีการฉีดจุลินทรีย์
- การฉีดเชื้อ: ใช้ R. capsulatus ที่เพาะเลี้ยงแล้วฉีดลงไปในระบบปลูก
- ระยะเวลาทดลอง: 3 สัปดาห์ → วัดค่าการเจริญเติบโต และวิเคราะห์ N content
ผลลัพธ์
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ความสูงลำต้น | +52% ถึง +75% |
น้ำหนักแห้ง (ส่วนเหนือดิน) | +47% ถึง +100% |
ปริมาณไนโตรเจนใน (ส่วนเหนือดิน) | 45% ถึง +78% |
ความยาวราก | −37% ถึง −9% |
น้ำหนักแห้งของระบบราก | −4% ถึง +8% |
ปริมาณไนโตรเจนในราก | +50% ถึง +62% |
ข้อสังเกตสำคัญ
- Rhodobacter capsulatus สามารถตรึงไนโตรเจน และทำให้พืชสะสมไนโตรเจนได้เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนเหนือดินและราก
- มีผลต่อการเจริญเติบโตชัดเจนในช่วงต้นของการเพาะปลูก
- ความยาวรากอาจลดลงในบางสายพันธุ์ แต่น้ำหนักรากและปริมาณ N ในราก กลับเพิ่มขึ้น
- เหมาะสำหรับการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในระยะกล้าข้าวหรือพืชเลี้ยงในระบบน้ำ
ข้อสรุปที่นักวิจัยเสนอ
- Rhodobacter capsulatus มีศักยภาพสูงในการใช้เป็น จุลินทรีย์ชีวภาพ (Biofertilizer) ในระบบปลูกข้าวแบบอินทรีย์หรือปลอดสาร
- ช่วยทดแทนการใช้ไนโตรเจนสังเคราะห์บางส่วนในระบบไฮโดรโปนิกส์
- อาจนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบปลูกข้าวดินจริงได้ในอนาคต
หมายเหตุ
- วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อให้เกิดแนวคิดในการนำ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ ก้านแดงมีหนาม” ไปต่อยอดกับพืชผักต่างๆ ของแต่ละคน
- ต้องการให้ใช้ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียง “แนวทาง” เพื่อนำไปพิจารณา ไม่ได้ให้เชื่อทันทีโดยขาดการพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้าน (ทุกปัจจัยในงานทดลองชิ้นนี้)
- นี่เป็นการทดลองของต่างประเทศ ไม่ใช่ของ IFARM ไม่ใช่ของ อ. วิโรจน์ วิโรจย์พันธ์แต่อย่างใด
- ตามความคิดของ IFARM หากนำ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ ก้านแดงมีหนาม” ที่มีแบคทีเรียนตัวเดียวกัน คือ Rhodobacter capsulatus มีโอกาสสูงที่จะได้ผลไปในทิศทางเดียวกัน (ถ้าผมจำไม่ผิด อ. วิโรจน์ เคยทดลองใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในข้าวแล้วได้ผลค่อนข้างดี – สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นนี้ … เอาไว้ผมมีโอกาสคุยกัน อ. วิโรจน์อีกครั้ง จะขอสัมภาษณ์ท่านเรื่องนี้อีกครั้งนะครับ – ขอติดไว้ก่อน)

คอร์ส (ออนไลน์) การปลูก "ต้นทองหลางน้ำ" ในสวนทุเรียน
เจาะลึกการใช้ "ต้นทองหลางน้ำ ก้านแดงมีหนาม" เป็นพืชพี่เลี้ยงหรือพืชแม่นมในสวนทเุรียน พร้อมเรียนรู้การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดย อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ และคุณชัดเจน ราชคฤห์ เพียง 299.- เรียนได้ตลอด ไม่มีหมดอายุ ... เรียนที่ไหน เมื่อไรก็ได้
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View