
Rhodobacter capsulatus (โรโดแบคเตอร์ แคปซูลาโตส) เป็นแบคทีเรียแกรมลบกลุ่ม Purple Non‑Sulfur Bacteria (PNSB) ที่มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมด้านการเกษตร ด้วยคุณสมบัติหลากหลาย เช่น การตรึงไนโตรเจน, การปรับปรุงคุณภาพดิน, การต้านทานโรคและความเครียด, ลดมลพิษทางการเกษตร และการผลิตฮอร์โมนพืช
ในปัจจุบัน อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ ได้คิดค้นและพัฒนาเป็น “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง” โดยใช้ใบจาก “ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดงมีหนาม” เป็น Prebiotic เพื่อใช้ในสวนเกษตรต่างๆ อันเป็นการลดต้นทุนปุ๋ย ต้นทุนยา และเพิ่มผลผลิตทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 3 นาที
Quick Navigation
Rhodobacter capsulatus คืออะไร
Rhodobacter capsulatus (โรโดแบคเตอร์ แคปซูลาโตส) คือแบคทีเรียสังเคราะห์แสงชนิดหนึ่งในกลุ่ม Purple Non-Sulfur Bacteria (PNSB) ที่มีความสามารถหลากหลาย ทั้งในด้านการตรึงไนโตรเจน การย่อยสลายสารอินทรีย์ และการผลิตสารชีวภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและดิน
ลักษณะทั่วไปของ Rhodobacter capsulatus
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่อเต็ม | Rhodobacter capsulatus |
กลุ่ม | แบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative) |
รูปร่าง | แท่ง (Rod-shaped), เคลื่อนไหวได้ |
สภาวะแวดล้อม | เจริญในสภาวะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็ได้ (Facultative anaerobe) |
การหากิน | ใช้แสงและสารอินทรีย์ในการสร้างพลังงาน (Photoheterotrophic) |
การสังเคราะห์แสง | แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anoxygenic photosynthesis) |
สีของเซลล์ | ม่วงแดง (เพราะมี bacteriochlorophyll และ carotenoid) |
ประโยชน์ของ Rhodobacter capsulatus
ช่วยตรึงไนโตรเจนในดิน เพิ่มธาตุอาหารให้พืช
- R. capsulatus มี เอนไซม์ไนโตรจีเนส (Nitrogenase) ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ (N₂) ให้กลายเป็นแอมโมเนีย (NH₃)
- แอมโมเนียเป็นรูปแบบที่พืชสามารถนำไปใช้ในการสร้างโปรตีนและการเจริญเติบโตได้โดยตรง
- ทำให้พืชได้รับไนโตรเจนอย่างต่อเนื่อง …. ลดความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน
กระตุ้นการแตกรากและการเจริญเติบโตของต้นกล้า
- R. capsulatus สามารถผลิตฮอร์โมนพืชธรรมชาติ เช่น IAA (Indole-3-acetic acid)
- ส่งผลให้รากพืชแตกแขนงดี ดูดซึมธาตุอาหารได้มากขึ้น
- ช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ฟื้นฟูดินเสื่อมสภาพ เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
- แบคทีเรียกลุ่ม PNSB อย่าง R. capsulatus ช่วย เพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดิน
- มีบทบาทในการย่อยสลายสารอินทรีย์และของเสียตกค้างในดิน
- เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและช่วยให้ดิน มีโครงสร้างที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการระบายน้ำและการยึดเก็บความชื้น
ลดการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในดินหรือน้ำที่ใช้รดพืช
- R. capsulatus ช่วยแปลงสารพิษ เช่น แอมโมเนีย (NH₃) และ ไนไตรต์ (NO₂⁻) ให้กลายเป็นรูปที่ปลอดภัยหรือเป็นประโยชน์
- เหมาะสำหรับใช้ในระบบปลูกพืชแบบน้ำหมุนเวียน หรือดินที่มีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากจนเสี่ยงต่อความเป็นพิษ
ใช้พลังงานแสงสร้างพลังงานเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน
- ด้วยความสามารถในการสังเคราะห์แสงแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anoxygenic photosynthesis)
→ R. capsulatus สามารถ ใช้แสงแดดในการสลายของเสียอินทรีย์ เช่น กรดอินทรีย์หรือของเสียจากรากพืช - ลดการสะสมของสารที่เป็นพิษในดิน และช่วยปรับสมดุลดินให้พืชเจริญเติบโตดีขึ้น

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจาก Rhodobacter capsulatus ที่ใช้ “ใบต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดงมีหนาม” ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็น “Prebiotic” ในการเลี้ยงและขยายเชื้อ
Rhodobacter capsulatus ในจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
จากประโยชน์ของ Rhodobacter capsulatus ในข้างต้น อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ ได้ค้นคว้าและวิจัยด้วยการใช้ “ใบทองหลางน้ำ” เป็น Prebiotic
และจากการทดลองและเก็บข้อมูลทั้งในห้องปฎิบัติการและ On Field พบว่า “ใบทองหลางน้ำ” จากสายพันธุ์ก้านแดงและมีหนาม เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดในการเป็น Prebiotic ทำให้ได้จุลินทรียํสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีประโยชน์หลัก 4 ด้านดังต่อไปนี้
- ทำให้พืชแตกรากได้ดีขึ้น ดูดซึมธาตุอาหารได้มากขึ้น
- ทำให้ผักทุกชนิดมีความกรอบมากขึ้น (อร่อยมากขึ้น)
- ทำให้พืชทนความเค็มได้เพิ่มขึ้น
- ช่วยป้องกันและแก้ปัญหาโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
ดังนั้นหากสมาชิก IFARM ท่านใดต้องการทำ “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจากใบทองหลางน้ำ” ไว้ใช้ในสวน / ฟาร์มของตัวเอง แนะนำให้หาต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง มีหนามมาปลูกนะครับ

อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ ผู้คิดค้นและวิจัย “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง Rhodobacter capsulatus” โดยใช้ใบทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดงมีหนาม ให้คำแนะนำและความรู้การใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และดูการขึ้นทะเบียน “ต้นทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดง” อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก
ข้อควรรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง "ใบทองหลางน้ำ"
- การขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงควรใช้ “หัวเชื้อ” จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และ “ใบทองหลางน้ำ สายพันธุ์ก้านแดงมีหนาม“ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน เพื่อให้มั่นว่าได้หัวเชื้อที่มาจาก Rhodobacter capsulatus ที่มีประสิทธิภาพ และได้ Prebiotic ที่ดีที่สุด
- สีของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกลุ่ม Rhodobacter capsulatus จะเป็นสีม่วงแดง อย่างไรก็ดี “สี” ไม่ใช่หลักประกันว่าจุลินทรีย์ที่ Active เป็น Rhodobacter capsulatus เพราะสี “ม่วงแดง” อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้
- ไข่ ยาคูลท์ หรืออื่นๆ ไม่เหมาะสำหรับการนำมาทำเป็น Prebiotic สำหรับ Rhodobacter capsulatus จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสูตรอื่นๆ จะได้จุลินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Rhodobacter capsulatus
- การนำไปใช้ ให้ทำเจือจางตามสัดส่วนที่ระบุอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ดี หากต้องการทดลองความเข้มข้นที่มากขึ้น แนะนำให้ทำอย่างระมัดระวัง และในสเกลเล็กๆ ไปก่อน
- Rhodobacter capsulatus ชอบอากาศที่เย็น สามารถได้รับแสงได้ แต่อุณหภูมิต้องไม่สูงเกินไป

คอร์ส (ออนไลน์) การปลูก "ต้นทองหลางน้ำ" ในสวนทุเรียน
เจาะลึกการใช้ "ต้นทองหลางน้ำ ก้านแดงมีหนาม" เป็นพืชพี่เลี้ยงหรือพืชแม่นมในสวนทเุรียน พร้อมเรียนรู้การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดย อ. วิโรจน์ วิโรจน์พันธ์ และคุณชัดเจน ราชคฤห์ เพียง 299.- เรียนได้ตลอด ไม่มีหมดอายุ ... เรียนที่ไหน เมื่อไรก็ได้
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View