ค่า pH ของดิน ถือเป็นเรื่องที่คนทำเกษตรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ สำคัญพอ ๆ กับเรื่องความชื้น อุณหภูมิ และอากาศเพราะค่า pH ในดิน หรือความเป็นกรดด่างที่มาก หรือน้อยเกินไปจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของพืช รวมทั้งผลกำไร-ขาดทุนเป็นอย่างมากครับ ต่อไปนี้คือ 5 ข้อเกี่ยวกับค่า pH ในดินที่ “คุณ” ต้องรู้
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 3 นาที
Quick Navigation
"การตรวจหาค่า pH ในดินก็เหมือนกับการตรวจซักประวัติของคุณหมอก่อนการรักษา จะได้รู้ว่าสุขภาพของดินเป็นอย่างไร เจ็บป่วยตรงไหน การรักษาจะได้ตรงจุด"
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
ค่า pH ในดินคือ ?
คำว่า “pH” ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion ครับ เป็นหน่วยที่ใช้แสดงความเป็นกรด (Acidity) และด่าง (Alkaline) ของสารเคมีในดินจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจน ซึ่งจะแตกตัวออกเป็น (H+) หรือ “ไฮโดรเจนอิออน” และ (OH-) หรือ “ไฮดรอกซิลอิออน” หาก H+ หรือ “ไฮโดรเจนอิออน” มีมากกว่า OH- หรือ “ไฮดรอกซิลอิออน” แสดงว่าดินนั้นเป็นกรด กลับกัน ถ้า OH- หรือ “ไฮดรอกซิลอิออน” มีมากกว่า ดินนั้นจะมีค่าเป็นด่างแต่ถ้ามีจำนวนเท่าๆ กัน ถือว่าไม่มีใครแพ้ใครชนะ ดินมีค่าเป็นกลางครับ
เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ เขาจะใช้ตัวเลข 1-14 pH ในการแสดงค่าความเป็นกรดด่าง โดยที่มี pH 7 เป็นค่ากลาง ถ้าวัดค่า pH ในดิน แล้วได้ค่าต่ำกว่า pH 7 แสดงว่าดินนั้นเป็นกรด (ดินเปรี้ยว) แต่ถ้าวัดออกมาแล้วได้มาก pH 7 ก็แสดงว่าดินตรงนั้นเป็นด่าง (ดินเค็ม) โดยปกติแล้วดินส่วนใหญ่มีค่า pH อยู่ในช่วง pH 5-8 นั้นเป็นสาเหตุที่เครื่องวัดค่า pH ดินมักมีย่านการวัดอยู่ที่ pH 3-8
กำชับนิดนะครับ อย่าจำตัวเลขค่ากรดด่างผิดนะครับ ถ้าจำสลับกันเมื่อไร บอกเลย “งานเข้า” แทนที่จะแก้ปัญหาดินเป็นกรด หรือด่างจัดให้หาย กลายเป็นไปซ้ำปัญหาให้หนักขึ้น ผมเคยเห็นคนเสียเงินไปหลายอัฐเพราะจำค่า pH ผิดมาแล้ว ไม่อยากให้เจ็บตัวครับ
ระดับความรุนแรงค่า pH ในดิน
โดยปกติจะมีการแบ่งขั้นของสภาพกรดด่างตามค่า pH ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
สำหรับค่า pH หรือกรดด่างของดินที่เหมาะสมสำหรับพืชโดยทั่ว ๆ ไปควรอยู่ที่ 6 – 6.5 pH หรือ “กรดอ่อน ๆ” ครับ เป็นช่วงที่เหมาะที่สุด พืชสามารถเอาธาตุอาหารไปใช้ได้มากชนิดที่สุด ส่วนดินที่มีค่า pH ตั้งแต่ 5.5 (กรดจัด) ลงมา หรือตั้งแต่ 8.5 pH (ด่างจัด) เขาจะจัดให้เป็นดินที่มีปัญหาด้านเกษตร ดินพวกนี้เป็นดินที่ขาดธาตุอาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพาะปลูกอะไรก็ยาก ใครฝืนทำ โอกาสทุนหายกำไรหดสูง
แต่…แต่…แต่ เหยียบเบรคไป 3 แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องพิจารณาชนิดของพืชที่ต้องการปลูกควบคู่ไปด้วยนะครับ ดูแค่ค่า pH อย่างเดียวไม่ได้ เพราะมีพืชบางชนิดสามารถเติบโตในสภาพดินที่เป็นกรดจัด / ด่างจัดได้ดี ตัวย่างเช่น
— กรดจัด – ชา ทุเรียน สัปปะรด
— ด่างจัด – ขนุน ส้มโอ มะขามเทศ
ผลกระทบของดินที่เป็นกรดจัด หรือด่างจัดต่อพืช
ทำไมผมเน้นว่าคนทำเกษตรควรวัดและควบคุมค่า pH ดินให้อยู่ในช่วง 6-6.5 pH ให้ได้ จริง ๆ แล้วความเป็นกรดด่างของดินไม่ได้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่ค่า pH ของดินแต่ละช่วงเป็นตัวควบคุม “การปลดปล่อยธาตุอาหารพืช” ของดินต่างหากครับ
ปล่อยออกมากเกินความต้องการ ก็อันตรายต่อพืช ปล่อยออกน้อยเกินไป ก็ไม่ดีอีกครับ ต้องให้พอดีพอเหมาะ
ดูภาพนี้ครับ จะเห็นชัดเจนเลยว่าค่า pH ในดินเข้าไปยุ่งกับธาตุอาหารพืชได้อย่างไร
ก่อนอื่นให้แบ่งระดับความเป็นกรดด่างออกเป็น 3 ช่วงครับ คือ
pH 4.0-6.0
pH 6.0-7.0
pH 7.0-10.0
เอาปากกาขีดเส้นแบ่งเลยก็ได้ครับ จะได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเสร็จแล้ว ให้เราโฟกัสเฉพาะช่วง pH 4.0-6.0 ก่อนครับ ไล่ดูธาตุอาหารแต่ละตัวตามแนวขวาง เราจะพบว่าปลายด้านซ้ายมือของ ฟอสฟอรัส (P) จะเริ่มตีบลงตั้งแต่ pH 6.5 ช่วง pH 4.5-6.0 ยิ่งแคบลงอีก และปลายแหลมเลย ช่วงนั้นฟอสฟอรัส (P) ถูกตรึงเอาไว้ ทำให้พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ปกติค่าฟอสฟอรัส (P) ในดินก็ต่ำมากอยู่แล้ว ยิ่งพืชดูดเอาไปใช้ไม่ได้ ยิ่งไปกันใหญ่
ลงไปดูที่ Micronutrients หรือจุลธาตุธาตุซึ่งเป็นกลุ่มพืชจำเป็นต้องใช้ แต่ใช้ไม่มากกันบ้างครับ เห็นไหม เห็นไหมครับ ธาตุเหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) รวมทั้งทองแดง (Cu) และสังกะสี (Zn) ช่วงที่ค่า pH ต่ำจัดจะละลายออกมามาก พอโดนความเป็นกรดละลายออกมามากจนเกินไป ก็เกิดเป็นพิษต่อพืชได้ ยิ่งถ้าดูเจาะจงลงไปที่ธาตุเหล็ก (Fe) เห็นชัดเลยว่า ค่า pH ในดินยิ่งต่ำ ธาตุเหล็กจะยิ่งละลายออกมามากยิ่งขึ้น เมื่อมีมากเกินความจำเป็น พืชก็เป็นอันตราย ตัวอย่างเช่น อลูมิเนียม จะทำให้ระบบรากพืชถูกทำลาย แมงกานีส ส่งผลใบพืชมีจุดสีเหลือง / น้ำตาล
นอกจากนี้จุลินทรีย์ดิน (เช่น เชื้อราโรครากเน่าโคนเน่า) ที่ชอบ/ทนสภาพความเป็นกรดจะเพิ่มจำนวนขึ้น สวนทางกับจุลินทรีย์ที่ไม่ทนกรด (ไรโซเบียม ที่ตรึงไนโตรเจน โดยเกิดเป็นปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว) จะลดจำนวนลง อันตรายครับ…อันตรายมาก
สเต็ปต่อไป ข้ามไปดูช่วง pH 7.0 – 10.0 กันก่อนครับ เห็นช่วง pH 7.0-8.5 ไหมครับ ฟอสฟอรัสออกอาการอีกแล้ว กรดจัดก็ไม่ดี พอด่างจัดก็เป็นปัญหาอีก โดยเฉพาะช่วง pH 8.5 ฟอสฟอรัสถูกตรึงไว้เนื่องจากเกิดตกตะกอนกับแคลเซียมที่ละลายออกมามากจนเกินไป นอกจากฟอสฟอรัสที่เป็นปัญหา ดินที่เป็นด่างยังทำให้พืชขาดธาตุเหล็ก และแมงกานีสอีกด้วย
และที่ Critical ที่สุด คือ ความเค็มมีผลเสียต่อพืชโดยขัดขวางไม่ให้น้ำเข้าสู้ต้นพืช พืชจะขาดน้ำครับ
ส่วนช่วง pH 6.0-6.5 เป็นช่วงที่ระดับ pH ของดินมีความเหมาะสมต่อการละลายธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่สุดครับ จะได้ครบเลยครับ ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุเสริม
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
-
TAKEMURA DM-5 / เครื่องวัดค่า EC ดินใช้เวลาอ่านประมาณ: 1 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
9,640 ฿9,390 ฿Add to cartQuick View -
เครื่องวัดกรดด่าง ความชื้น TAKEMURA DM-5 เครื่องวัดค่า pH น้ำใช้เวลาอ่านประมาณ: 1 นาที
บริการส่งฟรี (EMS) การจัดส่งสินค้า
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้ว
รับประกันสินค้า เงื่อนไขการรับประกัน
6,590 ฿6,290 ฿Add to cartQuick View
ค่า pH ในดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช
อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ ถ้าจะปลูกพืชแต่ละชนิดให้ได้ผลดี เราต้องพิจารณาชนิดของพืชที่จะปลูก และค่า pH ควบคู่ไปพร้อมกันครับ ดูแต่ค่า pH โดด ๆ ไม่ได้ พืชแต่ละชนิดมีความต้องการไม่เหมือนกัน เหมือนคนละเรานี้แหละ …นานาจิตตัง
ในส่วนนี้ผมขออนุญาตเอาข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. มาเป็น Reference ให้พิจารณานะครับ ลองไล่ดูครับ
การปรับค่า pH ของดิน
การปรับค่า pH ของดิน หรือวิธีการแก้ปัญหาดินที่มีปัญหาด้านเกษตรที่เห็นผลขึ้นอยู่กับระดับค่า pH ของดิน ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องลงมือทำโดยเร็วที่สุดก็คือ วัดค่า pH ในดินให้รู้ระดับที่แน่นอนเสียก่อนว่าป็นกรด หรือด่างรุนแรง ปานกลาง หรือเล็กน้อย สรุปให้ได้ก่อนครับ
สำหรับในบทความนี้จะขอนำเสนอแนวทางการแก้ไขแบบกว้าง ๆ ไว้ก่อน ในครั้งต่อ ๆ ไปจะลงรายละเอียดแต่ละวิธีให้มากยิ่งขึ้น
แนวทางการแก้ปัญหาดินเป็นกรด
- ใช้วัสดุอินทรีย์คลุมหน้าดิน
- การใส่ปุ๋ยหมัก
- การเลือกชนิดพันธุ์พืชที่ทนกับความเป็นกรด
- การปรับปรุงสภาวะธาตุอาหารของพืชในดินให้เพียงพอ
- การใช้ปูนปรับระดับ pH เช่น ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมต์ หินปูนบด (แนะนำให้ใส่ขณะดินมีความชื้นและต้องทำการไถพรวนทิ้งไว้อย่างน้อย 2 – 3 สัปดาห์เพื่อให้เวลาสำหรับปูนละลาย หลังจากนั้นให้ใช้เครื่องวัดค่ากรดด่างดินเช็คอีกครั้งก่อนปลูกพืช)
หมายเหตุ: ไม่ควรใช้น้ำหมักชีวภาพเด็ดขาดเพราะน้ำหมักมีค่าความเป็นกรดสูง
แนวทางการแก้ปัญหาดินเป็นด่าง
- การใช้ปูนปรับระดับ pH เช่น ปูนยิบซั่ม
- ใช้วัสดุอินทรีย์คลุมหน้าดิน
- ใช้น้ำหมักที่มีค่าความเป็นกรดสูงๆ รดสม่ำเสมอ
- การเลือกชนิดพันธุ์พืชที่ทนกับความเป็นด่าง
- การปรับปรุงสภาวะธาตุอาหารของพืชในดินให้เพียงพอ
หมายเหตุ: เนื้อหา รูปภาพ การนำเสนอ และอื่น ๆ ในบทความนี้และในเว็บไซต์ทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ “บริษัท ไอฟาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ห้ามลอกเลียน ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางใดทางหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ
-
-5%Add to cartQuick View