![เปรียบเทียบค่า EC, TDS และค่าความเค็มของดินและน้ำ](https://www.ifarm.co.th/wp-content/uploads/2024/09/ค่า-EC-TDS-และค่าความเค็ม.png)
คุณภาพน้ำคือปัจจัยที่สามารถชี้เป็นชี้ตายให้กับคนทำเกษตรได้เลย เพราะถ้าคุณภาพน้ำแย่ จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชเป็นอย่างมาก เป็นเรื่องน่าตกใจที่เจ้าของสวนเกินกว่า 70% ไม่เคยรู้ว่าคุณภาพน้ำในสวนของตัวเองเป็นอย่างไร วันนี้ IFARM จะพาทุกคนไปเจาะลึกเกี่ยวกับค่าของน้ำ 3 ค่า ได้แก่ค่า EC, TDS และ Salinity แล้วคุณจะได้คำตอบว่าทำไมผลผลิตของหลาย ๆ ท่านถึงย้ำแย่ทั้งที่ดูแลใส่ปุ๋ยไม่เคยขาด
![](https://www.ifarm.co.th/wp-content/uploads/2021/06/mrbal_ifarm-1.jpg)
ผู้บริหารไอฟาร์ม
ใช้เวลาอ่านประมาณ: 3 นาที
Quick Navigation
จะทำเกษตรให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีต้นทุนที่แข่งขัน น้ำเป็นปัจจัยสำคัญเบอร์ต้น ๆ ที่เจ้าของสวน / ฟาร์มต้องให้ความสำคัญ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
Content นี้ IFARM เลยจะพาทุกท่านไปรู้จักกับค่า EC (Electrical Conductivity), TDS (Total Dissolved Solids) และ Salinity (ความเค็ม) ของน้ำแบบเจาะลึก เพราะทั้ง 3 ค่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อ “คุณภาพของน้ำ” เป็นอย่างมาก
หลายคนยังแยกไม่ออกว่าค่า EC, TDS และค่า Salinity มีความแตกต่างกันอย่างไร และส่งผลกระทบยังไงต่อการเจริญเติบและการให้ผลผลิตของพืขบ้าง ? ตอบเบื้องต้นแบบนี้ก่อนครับ ทั้ง 3 ค่ามีความเชื่อมโยงกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่มีนัยยะสำคัญ และด้วยความที่รายละเอียดบางอย่างทับซ้อนหรือคล้ายคลึงกัน ทำให้คนทำเกษตรจำนวนไม่น้อยวิเคราะห์คุณภาพของน้ำในสวนของตัวเองผิดไป … จนนำไปสู่ความเสียหายและขาดทุนแบบไม่รู้ตัว
ความหมายของ EC, TDS และ Salinity
EC (Electrical Conductivity): คือการวัดความสามารถในการนำไฟฟ้าของน้ำ โดยเป็นการวัดมาจากไอออนที่ละลายในน้ำ เช่น โซเดียม (Na⁺), โพแทสเซียม (K⁺), แคลเซียม (Ca²⁺) และคลอไรด์ (Cl⁻) การวัดค่า EC ของน้ำเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการประเมินปริมาณไอออนที่มีอยู่ในน้ำ
- ความเข้มข้นของไอออนในน้ำ (และในดิน) มีผลโดยตรงต่อการดูดซึมสารอาหารของพืช
TDS (Total Dissolved Solids): คือการวัดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือแร่ธาตุต่าง ๆ ค่า TDS จึงประกอบไปด้วยทั้งสารที่นำไฟฟ้าและสารที่ไม่ได้นำไฟฟ้า เช่น สารอินทรีย์และก๊าซละลาย ดังนั้นค่าการวัด TDS จึงให้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากกว่า
- ป้องกันการสะสมของสารที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น สารอินทรีย์ที่อาจส่งผลเสียต่อพืช หากสะสมในดินหรือในระบบน้ำชลประทาน
![ค่า TDS น้ำ](https://www.ifarm.co.th/wp-content/uploads/2024/09/ค่า-TDS-น้ำ-1024x1024.png)
Salinity (ความเค็ม): คือการวัดปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) และแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO₄) ความเค็มสูงมีผลต่อการดูดซึมน้ำของพืชโดยตรง การวัดค่า Salinity จะช่วยให้คุณทราบถึงระดับเกลือในน้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
- ช่วยป้องกันปัญหาความเค็มที่อาจทำให้พืชขาดน้ำ แม้ว่าจะมีน้ำเพียงพอ
ใครอยากรู้ว่าน้ำที่มีความเค็มสูง ๆจะสร้างความเสียหายให้เจ้าของสวนขนาดไหน ลองคลิกบทความด้านล่างดูนะครับ … เป็นเคสจริงหนึ่งเรื่อง และงานวิจัยอีกหนึ่งเรื่อง
ถอดบทเรียน : ปลูกทุเรียนตาย 2 รอบ ขาดทุนหนัก เพราะโดนความเค็มเล่นงาน
ปลูกทุเรียนแล้วต้นไม่รอด ใบไหม้ ใบร่วงหมดต้น? พี่อดิศักดิ์เจอปัญหานี้มาแล้ว แต่ด้วยการวัดค่าดินและน้ำอย่างถูกต้อง เขาได้ค้นพบวิธีแก้ไขที่ช่วยเซฟเงินไปหลายหมื่น มาดูกันว่าการปรับค่าน้ำและปลูกต้นทองหลางน้ำแซมทุเรียนช่วยให้สวนทุเรียนกลับมามีชีวิตได้อย่างไร
การให้น้ำทุเรียน : ค่าความเค็มของน้ำรดต้นทุเรียน ศัตรูร้ายทำทุเรียนใบไหม้ยืนต้นตาย
ใน “การให้น้ำทุเรียน” มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลายประการ โดยเฉพาะค่าความเค็มของน้ำที่ใช้รดต้นทุเรียน เพราะค่าความเค็มจากน้ำกร่อยส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของดินหลายประการ ทั้งในเรื่องค่ากรดด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity, EC) อัตราการดูดซับเกลือของดิน (Salt Absorbtion Ratio, SAR) ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ต่อต้นทุเรียน เช่น ใบร่วง ใบไหม้ ทุเรียนตาย
ความสัมพันธ์ระหว่าง EC, TDS และ Salinity
ค่า EC, TDS และ Salinity มีความหมายที่แตกต่างกัน ทั้ง 3 ค่าต่างมีความสัมพันธ์ร่วมกันในบางจุด แต่ก็มีความแตกต่างที่นำไปสู่ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ต่างกันจนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
ความสัมพันธ์ระหว่าง EC และ TDS
อย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ ค่า EC คือการวัดความสามารถในการนำไฟฟ้าของน้ำจากไอออนที่ละลายอยู่ เช่น โซเดียม (Na⁺), โพแทสเซียม (K⁺), แคลเซียม (Ca²⁺) และคลอไรด์ (Cl⁻) ขณะที่ TDS วัดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำ ซึ่งรวมถึงสารอินทรีย์ แร่ธาตุ และเกลือ
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า EC และ TDS มาจากการที่ไอออนเหล่านี้สามารถนำไฟฟ้าได้ ยิ่งมีไอออนในน้ำมาก ค่า EC ก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้ค่า TDS สูงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ค่า TDS ไม่ได้สัมพันธ์กับค่า EC เสมอไปนะครับ เมื่อไรก็ตามที่น้ำมีสารอินทรีย์ที่ไม่ได้นำไฟฟ้ารวมอยู่ในปริมาณสูง ค่า EC และ TDS จะออกมาในทิศทางตรงกันข้ามได้ ตัวอย่างเช่น หากน้ำมี กรดอินทรีย์ (Organic Acids): เช่น กรดแลคติก (Lactic Acid) และกรดอะซิติก (Acetic Acid) ซึ่งเป็นสารที่ไม่นำไฟฟ้าและทำให้ดินเป็นกรด + พืชอ่อนแอในสัดส่วนที่สูงกว่าสารอื่น ๆ ค่า EC ก็จะออกมาต่ำ ในขณะที่ค่า TDS จะสูงกว่า
ในกรณีแบบนี้ ถ้าเราวัดแต่ค่า EC อย่างเดียว เราก็อาจจะมองไม่เห็นต้นตอของปัญหาที่ซ่อนอยู่ครับ … โอกาสวิเคราะห์ผิดมีสูงทีเดียวครับ
หมายเหตุ: กรดแลคติก (Lactic Acid) และกรดอะซิติก (Acetic Acid) สามารถพบได้ในน้ำที่มีการสะสมสารอินทรีย์และเกิดกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ในน้ำเสียจากการเกษตรหรือน้ำชลประทานที่มีการสะสมอินทรียวัตถุมากเกินไป
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า EC และ Salinity
Salinity คือการวัดค่าความเค็มที่เกิดจากเกลือซึ่งประกอบด้วยไอออนที่นำไฟฟ้า เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) และแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO₄) และเนื่องจากไอออนเหล่านี้สามารถนำไฟฟ้าได้ดี น้ำที่มี Salinity สูงจึงมีค่า EC สูงตามไปด้วยนั่นเองครับ
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงมักดูค่าความเค็มของน้ำผ่านค่า EC ไงครับ …. ใช่ครับค่า EC สามารถบ่งบอกถึงความเค็มของน้ำได้ครับ แต่ปัญหาก็คือมันไม่สามารถแยกปริมาณเกลือออกจากสารละลายที่ไม่ใช่เกลือได้นะซิครับ ดังนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ค่า EC สูง แต่น้ำมีปริมาณเกลืออยู่น้อย หรือค่า EC ต่ำ แต่น้ำดันมีค่าเกลือสูง
ต้องไม่ลืมนะครับว่าค่า EC เป็นการวัดปริมาณไอออนทั้งหมดที่อยู่ในน้ำ ขณะที่ Salinity จะวัดเฉพาะปริมาณเกลือที่ละลายเท่านั้น เราจึงรู้ได้ว่าน้ำมีเกลือผสมอยู่เท่าไร ดัวนั้นถ้าเราอยากรู้เฉพาะค่าเกลือโดด ๆ การวัดค่า Salinity โดยตรงจะแม่นยำกว่าครับ เพราะจะทำให้เราทราบปริมาณเกลือที่แท้จริง
ถ้าที่ผมร่ายมา คนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเรื่องความเค็ม เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็น่าจะรู้แล้วว่าควรจะดูเฉพาะค่า EC เท่านั้นหรือไม่นะครับ
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า TDS และ Salinity
แม้ว่าค่า TDS จะมีปริมาณเกลือรวมอยู่ด้วย แต่หากน้ำในสวนของคุณมีสารละลายอื่น ๆ เช่น สารอินทรีย์หรือแร่ธาตุต่าง ๆ ค่า TDS อาจสูง แต่ค่า Salinity อาจจะไม่สูงตามก็เป็นไปได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบทั้ง 2 ค่าเพื่อความมั่นใจในคุณภาพน้ำครับ
ความจำเป็นในการวัดทั้งค่า EC, TDS และ Salinity
การวัดเพียงค่าใดค่าหนึ่งอาจไม่เพียงพอในการประเมินคุณภาพน้ำที่ใช้ในสวนของคุณ โดยเฉพาะเมื่อน้ำที่ใช้อาจมีปริมาณเกลือหรือสารละลายที่ไม่ได้นำไฟฟ้า ดังนั้นการวัดทั้งค่า EC, TDS และ Salinity จะให้ข้อมูลที่ครอบคลุม และช่วยในการปรับปรุงคุณภาพน้ำได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์
Advertising Area | พื้นที่ประชาสัมพันธ์ : สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิกที่รูป หรือติดต่อ LINE ID : @ifarm
ถึงตรงนี้ ทุกท่านน่าจะเข้าใจแล้วว่าค่า EC, TDS และ Salinity มีจุดร่วมและจุดแตกต่างตรงไหนบ้าง ค่า EC ตอบเรื่องค่า TDS ได้ไหม ตอบเรื่องค่าความเค็มได้ไหม ก็ต้องบอกว่าตอบได้ แต่ก็ตอบได้ไม่เต็มปาก และนี่เป็นเหตุผลที่ทำไมเขาถึงผลิตเครื่องมือที่วัดค่า EC, TDS และ Salinity ออกมา ทั้งแบบ 1 เครื่อง 1 ฟังก์ชั่น หรือ 1 เครื่องหลายฟังก์ชั่น เพราะถ้ามันคือค่าเดียวกัน แบบไม่มีอะไรแตกต่าง เขาคงไม่ทำเครื่องวัดแยกย่อยแต่ละค่ามาให้เราปวดหัวเล่น ๆ หรอกว่าไหมครับ
แต่ถามว่าทุกสวนทุกฟาร์มต้องมีเครื่องมือวัดค่า 3 นี้ไหม คงไม่ถึงขนาดนั้นครับ ขึ้นอยู่ที่บริบทและจุดประสงค์ในการวัดของแต่ละคน
เอาเป็นว่าค่อย ๆ ย่อยสิ่งที่ผมเขียน แล้วตัดสินใจตามความจำเป็นดูครับ
ตอบแบบวิทยาศาสตร์ทำไมถึงต้องเลือกปลูก "ต้นทองหลางน้ำ" สายพันธุ์ก้านแดง มีหนาม
หลังจากที่ IFARM ได้จุดกระแสให้ “ต้นทองหลางน้ำ” กลับมาเป็นที่นิยมปลูกกันมากขึ้นอย่างกว้าง ในฐานะพืชแม่นม / พืชพี่เลี้ยงในสวนทเุรียน หรือไม้เศรษฐกิจอื่น ๆ ทำให้มีการจำหน่ายทั้งต้นกล้า / กิ่งทองหลางน้ำกันอย่างคึกคัก ซึ่งแต่ละคนก็พยายามสร้างจุดเด่นจุดขายของตัวเอง จนคนที่ต้องการซื้อไปปลูกเกิดความสับสนว่าพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกควรเป็นสายพันธุ์ไหนกันแน่
บทความแนะนำ
-
-5%Add to cartQuick View
-
-5%Out of stockRead moreQuick View